กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12275
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของหญ้าแฝกที่ปลูกด้วยเทคนิคแท่นลอยน้ำในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตปูเทียมแช่เยือกแข็ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Efficiency of vetiver grass cultivated with floating platform technique in wastewater treatment from imitation crab stick industrial factory
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุณี ภู่สีม่วง
ศิริธร แก้วเนตร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
กุลธิดา บรรจงศิริ
คำสำคัญ: หญ้าแฝก
การอนุรักษ์น้ำ
ของเสียจากโรงงาน
การบำบัด
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาค่าพารามิเตอร์ของน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดด้วยเทคนิดแท่นลอยน้ำ และ (2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของหญ้าแฝกสายพันธุ์สุราษฎร์ ในโรงงานผลิตปูเทียมแช่เยือกแข็งด้วยเทคนิคแท่นลอยน้ำ การดำเนินการวิจัยโดยการใช้หญ้าแฝกสายพันธุ์สุราษฎร์ธานีอายุ 3 สัปดาห์ ทำการทคลองเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 คือช่วงทคลอง ทำการทคลองเป็นเวลา 1 เดือน ที่ขนาคบ่อทคลอง ฐานกลมขนาคเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.70 เมตร และสูง 0.30 เมตร บรรจุน้ำเสีย 100 ลิตร ประกอบด้วยชุดควบคุมและดที่ปลูกด้วยหญ้าแฝกจำนวน 3 บ่อ พบว่า หญ้าแฝกสายพันธ์สุราษฎร์ธานีสามารถเจริญเติบโตและบำบัดน้ำเสียได้ ช่วงที่ 2 คือช่วงใช้กับน้ำเสียของโรงงาน ทำการทคลองเป็นระยะเวลา 3 เดือน ทั้งนี้บ่อ 1 และบ่อ 2 มีปริมาตร 21,000 ลิตร ปลูกด้วยหญ้าแฝกจำนวน 12,600 ต้น บนแท่นลอยน้ำ ขนาดกว้าง 1.08 ยาว 4.12 เมตร จำนวน 4 แท่น บ่อ 3 มีปริมาตร 27,825 ลิตร ปลูกหญ้าแฝกจำนวน 16,69 ต้น บนแท่นลอยน้ำ ขนาดกว้าง 1.08 ยาว 4.12 เมตร จำนวน 4 แท่น มีค่าอัตราการไหลเฉลี่ยของน้ำเข้าเท่ากับ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ผลการวิจัยพบว่า (1) การบำบัดน้ำเสียจากโรงงาน ค่าพารามิเตอร์ของน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดลดลงคือ ค่าพี่เอชลดลงจาก 9.5 เป็น 7.1 ค่าบีโอดีลดลงจาก 20 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็น 5.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าซีโอดีลดลงจาก 995 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็น 46.6 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าของแข็งแขวนลอยลดลงจาก 54 มิลลิกรัมต่อลิตรเป็น 14 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่าของแข็งละลายน้ำลดลงจาก 1,985 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็น 1,495 มิลลิกรัมต่อลิตร (2) การบำบัดน้ำเสียจากโรงงาน พบว่า ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของหญ้าแฝกสายพันธุ์สุราษฎร์ธานีในโรงงานผลิตปูเทียมแช่เยือกแข็งด้วยเทคนิคแท่นลอยน้ำของ ค่าพีเอช ค่าบี โอดี ค่าซีโอดี ค่าของแข็งแขวนลอยและค่าของแข็งละลายน้ำ คิดเป็นร้อยละ 81.67 95.32 94.53 44.32 และ 26.73 ตามลำดับหญ้าแฝกสายพันธุ์สุราษฎร์ธานีสามารถดูดซับธาตุอาหารที่มีอยู่ในน้ำเสียที่มาจากการย่อยสลายสารอินทรีย์เพื่อนำไปใช้ในการเจริญเคิบโต มีความยาวรากเพิ่มขึ้นจาก 1.5 เซนติเมตร เป็น 93 เซนติมตร ดังนั้นหญ้าแฝกสายพันธุ์สุราษฎร์ชานีมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียในโรงงานผลิตปูเทียมแช่เยือกแข็งด้วยเทคนิคแท่นลอยน้ำ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12275
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Science Tech - Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons