กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12278
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการพัฒนาทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษของพยาบาลวิชาชีพงานการพยาบาลผู้ป่วยใน สถาบันโรคทรวงอก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A model of enhancing conversation skills in English for professional nurses, inpatient departments of Central Chest Institute of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อารี ชีวเกษมสุข ปวีนุช จีนกูล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ทรงศรี สรณสถาพร |
คำสำคัญ: | ภาษาอังกฤษ บทสนทนาและวลี (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์) พยาบาล--การพัฒนาตนเอง |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหา สาเหตุ และความต้องการรูปแบบการพัฒนาทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษของพยาบาลวิชาชีพ งานการพยาบาลผู้ป่วยใน สถาบันโรคทรวงอก 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษของพยาบาลวิชาชีพ และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษของพยาบาลวิชาชีพที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพงานการพยาบาลผู้ป่วยในอายุรกรรม จํานวน 92 คน ได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มที่ร่วมสนทนา จำนวน 12 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ (1) กลุ่มพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยอายุรกรรมปอด จำนวน 5 คน และหัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 1 คน และ (2) กลุ่มพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยอายุรกรรมหัวใจ จำนวน 5 คน และหัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 1 คน และ 2) กลุ่มที่ตอบแบบสอบถามเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชุด ได้แก่ 1) แนวทางการสนทนากลุ่ม 2) แบบสอบถามบทการสนทนาภาษาอังกฤษจําแนกตามกิจกรรม และ 3) แบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษของพยาบาลวิชาชีพ เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 เครื่องมือชุดที่ 2 และ 3 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .93 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสนทนาภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ สาเหตุมี 3 ด้านเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ (1) ด้านพยาบาล ได้แก่ เขินอาย ไม่มั่นใจ ไม่กล้าพูด (2) ด้านหน่วยงาน มีการสนับสนุนไม่เพียงพอ และ (3) ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย และมีโอกาสใช้น้อย ความต้องการรูปแบบมี 2 ประการ ดังนี้ (ก) ผู้สอนชาวต่างชาติที่พูดภาษาไทย และ (ข) ใช้วิธีการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ได้แก่ เรียนแบบเผชิญหน้าเป็นกลุ่มย่อย แสดงบทบาทสมมติ มีเนื้อหาบทสนทนาในกิจกรรมพยาบาล จํานวน 20 กิจกรรม เรียนรู้ด้วยตนเองทางออนไลน์ ใช้หนังสือ และภาคปฏิบัติ ประกอบด้วย ปฏิบัติจริง ได้แก่ นำเสนอผลงานวิชาการ ศึกษาดูงานต่างประเทศ ภายใต้การนิเทศติดตามของพี่เลี้ยง และฝึกปฏิบัติ ได้แก่ ฝึกสนทนาในหน่วยงาน พูดเรื่องทั่วไป คำศัพท์ทางการแพทย์ รายงานการส่งเวร สนทนาขณะปฏิบัติการพยาบาล 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นตามปัญหา สาเหตุ และความต้องการ เป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานภาคทฤษฎีและปฏิบัติ และ 3) รูปแบบพัฒนาทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษของพยาบาลวิชาชีพที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมร้อยละ 99.31 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12278 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.86 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License