Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12288
Title: | การรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทกิจการล้งมะพร้าวในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม |
Other Titles: | Perceived operations of businesses hazardous to human health of coconut processing houses by stakeholders in Amphawa District, Samut Songkhram Province |
Authors: | สิริรัตน์ สุวณิชย์เจริญ ปาหนัน อินอำพันธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สมโภช รติโอฬาร |
Keywords: | อาชีพเสี่ยงอันตราย มะพร้าว--การผลิต มะพร้าว--การแปรรูป มะพร้าว--ไทย--สมุทรสงคราม |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต (2) เปรียบเทียบการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต และ (3) เสนอแนะการดำเนินงานควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทกิจการล้งมะพร้าว ในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ประชากรคือ เจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้ประกอบการกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จำนวน 517 คน กลุ่มตัวอย่างคำนวณ โดยใช้สูตรของแดเนียล และสุ่มตัวอย่างแบบง่ายได้จำนวน 216 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทคสอบแมนน์ - วิทนีย์ ยู ผลการวิเคราะห์พบว่า (1) การรับรู้ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงานภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและด้านผลผลิตของการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก (2) ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการกิจการ กับกลุ่มเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานควบคุมกิจการ พบว่า ด้านบริบทในการดำเนินงาน ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงาน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนด้านผลผลิตของการดำเนินงานไม่มีความแตกต่าง และ (3) กลุ่มเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานควบคุมกิจการเสนอแนะให้การดำเนินงานควรมีการบูรณาการร่วมกันมากขึ้น สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการกิจการเสนอแนะให้มีการจัดการด้านงบประมาณในการดำเนินงาน รวมถึงด้านความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดำเนินงานที่ถูกต้องเหมาะสมตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (สาธาณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12288 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License