Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12290
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของเภสัชกรที่ปฏิบัติงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภาคใต้ |
Other Titles: | Factors affecting retention of pharmacists working on consumer protection in the Southern Province Public Health Office |
Authors: | วรางคณา จันทร์คง สุธาดา สายวารี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อารยา ประเสริฐชัย |
Keywords: | เภสัชกร--ไทย (ภาคใต้) |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลและแรงจูงใจของเภสัชกร (2) การคงอยู่ของเภสัชกร และ (3) ผลของปัจจัยส่วนบุคคลและแรงจูงใจต่อการคงอยู่ของเภสัชกรที่ปฏิบัติงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภาคใต้ ประชากรที่ศึกษาครั้งนี้ คือ เภสัชกรที่ปฏิบัติงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภาคใต้ จำนวน 123 คน โดยศึกษาทุกหน่วยของประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของคอนบรา เท่ากับ 0.921 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) เภสัชกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 40.19 ปี มีสถานภาพโสด มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดเดียวกับที่ทำงาน สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาในภาคใต้ ระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 20,001-40,000 บาท ประสบการณ์การทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 16-20 ปี มีแรงจูงใจทั้งด้านปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับสูง (2) เภสัชกรมีการคงอยู่ในระดับสูง (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของเภสัชกร ได้แก่ ปัจจัยค้ำจุนด้านความมั่นคงในงาน และปัจจัยจูงใจด้านความสำเร็จในการทำงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์การคงอยู่ของเภสัชกรที่ปฏิบัติงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภาคใต้ ได้ร้อยละ 53 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธาณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12290 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License