Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12291
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตนา ดวงแก้วth_TH
dc.contributor.authorนภัทร ภัทรเดชากูล-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-06-20T07:07:27Z-
dc.date.available2024-06-20T07:07:27Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12291-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(ศึกษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของสมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาเอกชนขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาเอกชนขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของสมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาความคิดเห็นต่อสมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 10 คน การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของตัวบ่งชี้สมรรถนะ โดยสอบถามผู้เชี่ยวชาญ 20 คน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยสอบถามครูสอนภาษาอังกฤษในสถานศึกษาเอกชนระดับขั้นพื้นฐาน 532 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยนำข้อมูลของครูสอนภาษาอังกฤษ 532 คน มาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และระยะที่ 3 การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน โดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของตัวบ่งชี้ แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ตามตัวบ่งชี้ของครู ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ความเบ้ ค่าการวิเคราะห์องค์ประกอบ และค่าสถิติตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล ส่วนการวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21มี 6 ประกอบ และ 56 ตัวบ่งชี้ ซึ่งเรียงลำดับตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบ ดังนี้ (1) ความสามารถด้านการคิดเชิงนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ (2) ทักษะการสอนภาษา (3) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ (4) ความสามารถทางภาษาอังกฤษ(5) ความสามารถพื้นฐานดิจิทัล และ (6) ความสามารถในการสื่อสาร 2) โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างองค์ประกอบของตัวบ่งชี้สมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษที่พัฒนามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูสอนภาษาอังกฤษเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการทางการสอนภาษาที่สอดคล้องกับความต้องการของครู ควรเปิดโอกาสให้ครูคิดอย่างสร้างสรรค์ในการนำนวัตกรรม ความรู้ และประสบการณ์ที่ผ่านการอบรมมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน พร้อมทั้งนิเทศ กำกับติดตามการสอนของครูและหน่วยงานที่รับผิดชอบควรสร้างพื้นที่ในการแแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการสอนอขงครูสอนภาษาอังกฤษth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectครูภาษาอังกฤษ--การประเมินศักยภาพth_TH
dc.subjectครู--การประเมินศักยภาพth_TH
dc.subjectโรงเรียนเอกชน--ไทยth_TH
dc.titleการพัฒนาสมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาเอกชนขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนth_TH
dc.title.alternativeThe development of English teacher competency for student learning in the 21st century for private basic education schools under the Office of the Private Education Commissionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to study the components and indicators of English teacher competency for student learning in the 21st century for private basic education schools under the Office of the Private Education Commission; (2) to investigate the congruence of structural relationship model as developed of components and indicators and empirical data; and (3) to study guidelines for the enhancement of English teacher competency for student learning in the 21st century for private basic education schools. The research process comprised 3 stages. Stage 1 was the study of components and indicators of English teacher competency for student learning in the 21st century, and this consisted of 4 steps as following: analyzing and synthesizing related documents and researches; determining opinions toward English teacher competency for student learning by interviewing 10 experts; evaluating the appropriateness and the possibility of the indicators by examining 20 experts; and conducting an exploratory factor analysis with 532 English teachers in private basic education schools, obtained by multi-stage sampling. Stage 2 was the investigation of congruence of developed model and empirical data by applying confirmatory factor analysis to the data collected from the 532 English teachers. Stage 3 was the study of guidelines for the enhancement of English teacher competency for student learning by interviewing 11 experts. The employed research instruments were a structured interview form, an indicator-assessment form, a questionnaire on teachers’ indicator perception, with reliability coefficients of .98, and semi-structured interview form on guidelines for enhancement of English teacher competency. The quantitative data analyzed by descriptive statistics, EFA, and CFA. The qualitative data analyzed by content analysis. The research results revealed that 1) the English teacher competency for student learning in the 21st century consisted of 6 components and 56 indicators sorted by factor loading as shown in the followings: (1) innovative and creative thinking competency, (2) language teaching skills, (3) learning management competency, (4) English language competency, (5) basic digital competency, and (6) communication competency; (2) the structural relationship model of components and indicators of English teacher competency was well fitted with the empirical data; and (3) the guidelines to enhance English teacher competency for student learning in the 21st century showed that school administrators should encourage English teachers to participate in English teaching workshops that are tailored to their needs, should allow them to think creatively in applying the innovation, knowledge, and experiences from the training to their classrooms, and should supervise and monitor their teaching; and the OPEC should arrange academic forums for English teachers to share their teaching innovationen_US
dc.contributor.coadvisorกุลชลี จงเจริญth_TH
dc.contributor.coadvisorพิชิต ฤทธิ์จรูญth_TH
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม36.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons