กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12291
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาเอกชนขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of English teacher competency for student learning in the 21st century for private basic education schools under the Office of the Private Education Commission
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัตนา ดวงแก้ว
นภัทร ภัทรเดชากูล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
กุลชลี จงเจริญ
พิชิต ฤทธิ์จรูญ
คำสำคัญ: ครูภาษาอังกฤษ--การประเมินศักยภาพ
ครู--การประเมินศักยภาพ
โรงเรียนเอกชน--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของสมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาเอกชนขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาเอกชนขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของสมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาความคิดเห็นต่อสมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 10 คน การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของตัวบ่งชี้สมรรถนะ โดยสอบถามผู้เชี่ยวชาญ 20 คน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยสอบถามครูสอนภาษาอังกฤษในสถานศึกษาเอกชนระดับขั้นพื้นฐาน 532 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยนำข้อมูลของครูสอนภาษาอังกฤษ 532 คน มาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และระยะที่ 3 การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน โดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของตัวบ่งชี้ แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ตามตัวบ่งชี้ของครู ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ความเบ้ ค่าการวิเคราะห์องค์ประกอบ และค่าสถิติตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล ส่วนการวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21มี 6 ประกอบ และ 56 ตัวบ่งชี้ ซึ่งเรียงลำดับตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบ ดังนี้ (1) ความสามารถด้านการคิดเชิงนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ (2) ทักษะการสอนภาษา (3) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ (4) ความสามารถทางภาษาอังกฤษ(5) ความสามารถพื้นฐานดิจิทัล และ (6) ความสามารถในการสื่อสาร 2) โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างองค์ประกอบของตัวบ่งชี้สมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษที่พัฒนามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูสอนภาษาอังกฤษเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการทางการสอนภาษาที่สอดคล้องกับความต้องการของครู ควรเปิดโอกาสให้ครูคิดอย่างสร้างสรรค์ในการนำนวัตกรรม ความรู้ และประสบการณ์ที่ผ่านการอบรมมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน พร้อมทั้งนิเทศ กำกับติดตามการสอนของครูและหน่วยงานที่รับผิดชอบควรสร้างพื้นที่ในการแแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการสอนอขงครูสอนภาษาอังกฤษ
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ศึกษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12291
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม36.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons