Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12303
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุทธิวรรณ ตันติรจนาth_TH
dc.contributor.authorจิตต์ โชติอุทัย-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-06-24T07:16:45Z-
dc.date.available2024-06-24T07:16:45Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12303-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ ในด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ (2) เปรียบเทียบสมรรถนะด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ ของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ ระหว่างผู้ประเมินที่มีช่วงอายุแตกต่างกัน (3) เปรียบเทียบสมรรถนะด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ ของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ ระหว่างผู้ประเมินเต็มเวลาและผู้ประเมินบางเวลา (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง สมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ (5) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะและปัญหาทั่วไปของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ในภาพรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก ด้านความรู้ และด้านทักษะ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านคุณลักษณะอยู่ในระดับมากที่สุด (2) สมรรถนะด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ ระหว่างผู้ประเมินในช่วงอายุต่างกัน มีสมรรถนะรวมทุกด้านไม่แตกต่าง แต่ในรายด้านแตกต่างกัน (3) สมรรถนะโดยรวมทุกด้าน ด้านความรู้และด้านทักษะ ระหว่างผู้ประเมินเต็มเวลาและผู้ประเมินบางเวลาไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านคุณลักษณะ ระหว่างผู้ประเมินเต็มเวลาและผู้ประเมินบางเวลาแตกต่างกัน (4) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะโดยรวมของผู้ประเมินภายนอก พบว่า สมรรถนะด้านความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกค่อนข้างสูงกับสมรรถนะด้านทักษะ และมีความสัมพันธ์ปานกลางกับสมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนสมรรถนะด้านทักษะมีความสัมพันธ์ทางบวกค่อนข้างสูงกับด้านคุณลักษณะ (5) ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้ประเมิน คือ ความรู้ไม่พอในเรื่องการบันทึกภาคสนามและการเขียนรายงาน ทีมงานไม่เตรียมงานและไม่บันทึกล่วงหน้า ผู้ประเมินไม่สนใจกฎระเบียบของ สมศ.และหน่วยที่สังกัด ค่าตอบแทนไม่พอเพียง การขาดประสิทธิภาพการบริหารของ สมศ.และหน่วยประเมินข้อเสนอแนะสำคัญคือ ให้ สมศ. กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินให้แน่นอน ไม่เปลี่ยนหลักเกณฑ์บ่อย ให้ สมศ.และหน่วยเพิ่มความรู้แก่ผู้ประเมินอย่างต่อเนื่อง ให้หน่วยเข้มงวดการเตรียมงานล่วงหน้าก่อนประเมิน ให้ปรับการบริหาร สมศ.และหน่วยประเมิน ให้เพิ่มค่าตอบแทน ให้ สมศ. และหน่วยประเมินมีการประกันคุณภาพและมีรายงานการประเมินตนเองth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2007.183-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectการประเมินผลทางการศึกษาth_TH
dc.subjectสมรรถภาพในการทำงานth_TH
dc.titleสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้th_TH
dc.title.alternativeCompetencies of external evaluators at the basic education level in the Southern Regionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2007.183-
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.contributor.coadvisorวรรณ์ดี แสงประทีปทองth_TH
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.96 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons