Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12308
Title: | การพัฒนาชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสื่อสังคม รายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง การเขียนโปรแกรม Scratch สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านบางเทา จังหวัดภูเก็ต |
Other Titles: | Development of an electronic learning package via social media in the Calculation Science Course on the topic of Writing of Scratch Program for Grade 4 Students of Ban Bang Thao School in Phuket Province |
Authors: | ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ อริญญา สาบวช, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์--แบบเรียนสำเร็จรูป สแครช (ภาษาคอมพิวเตอร์) การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสื่อสังคมรายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง การเขียนโปรแกรม Scratch สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ศึกษาความกาวหน่าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสื่อสังคม รายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง การเขียนโปรแกรม Scratch และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสื่อสังคม รายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง การเขียนโปรแกรม Scratch กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านบางเทา จังหวัดภูเก็ต ที่กำลังศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสื่อสังคม รายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง การเขียนโปรแกรม Scratch (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสื่อสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสื่อสังคม รายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง การเขียนโปรแกรม Scratch มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.69/80.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสื่อสังคม เรื่อง การเขียนโปรแกรม Scratch มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสื่อสังคม เรื่อง การเขียนโปรแกรม Scratch ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความคิดเห็นสูงสุดในเรื่อง สีพื้นในการออกแบบหน้าจอสบายตา |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12308 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 33.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License