Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12310
Title: อิทธิพลของรูปแบบความเป็นผู้นำต่อประสิทธิภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ผ่านการคัดเลือกคู่ค้าอย่างยั่งยืนและการจัดการลีนในอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศจีน และประเทศไทย
Other Titles: The effect of leadership style model on new product development performance through sustainable supplier selection and lean management of electrical and electronic industries in China and Thailand
Authors: เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุดาพร สาวม่วง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชนาทิป เฌอญาดา, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำ--แง่เศรษฐกิจ
การผลิตแบบลีน
อุตสาหกรรมไฟฟ้า--จีน
อุตสาหกรรมไฟฟ้า--ไทย
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจปัจจัยรูปแบบความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน การคัดเลือกคู่ค้าอย่างยั่งยืน การจัดการลีน ประสิทธิภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในประเทศจีนและไทย (2) วิเคราะห์ความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและความเป็นผู้นำแบบแลกเปลี่ยนมีอิทธิพลต่อการคัดเลือกคู่ค้าอย่างยั่งยืน การจัดการลีน และต่อประสิทธิภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การคัดเลือกคู่ค้าอย่างยั่งยืนมีอิทธิพลต่อการจัดการลีนและประสิทธิภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และการจัดการลีนมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และ (3) เปรียบเทียบรูปแบบความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและความเป็นผู้นำแบบแลกเปลี่ยนมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ผ่านการคัดเลือกคู่ค้าอย่างยั่งยืนและการจัดการลีนของประเทศจีนและไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรคือ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศจีน จำนวน 2,414 บริษัท และประเทศไทย จำนวน 2,376 บริษัท การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น (Probability sampling) การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยเชิงปริมาณผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงในประเทศจีน 518 ตัวอย่าง และประเทศไทย 982 ตัวอย่าง การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงแบบมีโครงสร้าง จำนวน 10 รายต่อประเทศ ผลการวิจัยพบว่า (1) ประเทศจีนมีค่าเฉลี่ยของปัจจัยผู้นาการเปลี่ยนแปลง ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน การคัดเลือก คู่ค้าอย่างยั่งยืน การจัดการลีน ประสิทธิภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง สำหรับประเทศไทยมีค่าเฉลี่ย ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านระยะเวลาและคุณภาพมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (2) ความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อการคัดเลือกคู่ค้าและการบริหารแบบลีน และไม่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพสินค้าใหม่ของประเทศจีนและไทย สำหรับประเทศไทยความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ความเป็นผู้นำแบบแลกเปลี่ยนมีอิทธิพลทางตรงต่อการคัดเลือกคู่ค้าอย่างยั่งยืนและและอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพสินค้าใหม่ของประเทศจีนและไทย ประเทศจีนความเป็นผู้นำแบบแลกเปลี่ยนมีอิทธิพลทางตรงต่อการจัดการลีนแต่ประเทศไทย ไม่มีอิทธิพล ความเป็นผู้นำแบบแลกเปลี่ยนมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งจีนและไทย การคัดเลือกคู่ค้าอย่างยั่งยืนไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งประเทศจีนและประเทศไทย การจัดการลีนมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งประเทศจีนและประเทศไทย และ (3) อิทธิพลของรูปแบบความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและความเป็นผู้นำแบบแลกเปลี่ยนมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ผ่านการคัดเลือกคู่ค้าอย่างยั่งยืนและการจัดการลีน มีรูปแบบโมเดลเหมือนกันทั้งประเทศจีนและไทย
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (บธ.ด.(วิทยาการจัดการ))--มหาวิทยาลัยสุโทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12310
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT ชนาทิป เฌอญาดา.pdfเอกสารฉบับเต็ม30.56 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons