Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12311
Title: แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อสร้างทีมกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยสู่ความเป็นเลิศ
Other Titles: Approaches to developing communications to foster excellence in Thailand’s national football team
Authors: สันทัด ทองรินทร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนุสรณ์ มนตรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐพงศ์ สัมปหังสิต, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ทีมฟุตบอล--การสื่อสาร
การสื่อสารระหว่างบุคคล
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างทีมกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยสู่ความเป็นเลิศเกี่ยวกับ 1) รูปแบบการสื่อสาร 2) วิธีการสื่อสาร 3) กลยุทธ์การสื่อสาร 4) สมรรถนะการสื่อสารของผู้ฝึกสอนและนักกีฬา 5) ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสาร 6) แนวทางการสื่อสาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 15 คน ประกอบด้วย หัวหน้าผู้ฝึกสอน 3 คน และกัปตันทีม 1 คน และกลุ่มนักฟุตบอลทีมชาติไทยชุดซีเกมส์จำนวน 11 คนซึ่งเคยสังกัดทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ที่ชนะเลิศอันดับ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการสัมภาษณ์เชิงลึกและสัมภาษณ์กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทย จำนวน 5 ทีม รวมทั้งหมด 225 คน โดยเลือกแบบเจาะจง จากนักกีฬาฟุตบอลชายทีมชาติไทย ทีมเยาวชนไทยอายุ 16-23 ปี ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการสื่อสาร ประกอบด้วยการสื่อสารภายในตนเองของหัวหน้า ผู้ฝึกสอน กัปตันทีม และนักกีฬาเพื่อกำหนดเป้าหมาย สร้างแรงจูงใจให้กับตนเองและวางแผนวิธีการดำเนินงาน การสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและลดความกดดัน การสื่อสารกลุ่มเล็กเพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ การสร้างปฏิสัมพันธ์ และกำหนดเป้าหมายร่วมกันภายในทีมใน 3 ช่วงการแข่งขัน คือ ก่อน ระหว่าง และ หลังการแข่งขัน 2)วิธีการสื่อสาร พบว่า ใช้วิธีการสื่อสารทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษาควบคู่กัน ทั้ง 3 ช่วง ได้แก่ ก่อน ระหว่าง และหลังการแข่งขัน แต่ในช่วงระหว่างการแข่งขันเน้นการสื่อสารด้วยอวัจนภาษา 3) กลยุทธ์การสื่อสาร ได้แก่ การสื่อสารผ่านกิจกรรม การสั่งการของหัวหน้าผู้ฝึกสอนเพื่อสร้างเป้าหมายให้มีทิศทางเดียวกัน และใช้คำพูดในการปลูกฝังภาพจำในช่วงก่อนการแข่งขัน โดยหัวหน้าผู้ฝึกสอนจะอธิบายมุมมองของการแข่งขันในเชิงบวก การสื่อสารเพื่อสร้างมโนภาพและจินตภาพ โดยใช้ในช่วงระหว่างการแข่งขันเพื่อให้นักกีฬาเกิดภาพจำลองตามสถานการณ์เพื่อให้สามารถจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามภาพที่จำลองไว้ได้ทันที และการสร้างแรงจูงใจเพื่อการต่อยอดความเป็นเลิศ โดยใช้ในช่วงหลังการแข่งขันเพื่อให้นักกีฬานำประสบการณ์เชิงบวกไปสื่อสารให้กับนักกีฬารุ่นต่อไป 4) หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยมีสมรรถนะการสื่อสารด้านการสร้างแรงจูงใจและมีความเป็นผู้นำ 5) ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสาร พบว่า การสื่อสารระหว่างนักกีฬาภายในทีมมีผลต่อการมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างกันมากที่สุดรองลงมา คือ ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนมีผลต่อการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ และความสัมพันธ์ส่วนบุคคลของนักกีฬามีผลต่อการสื่อสารระหว่างนักกีฬาภายในทีม 6) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) รูปแบบการสื่อสารภายในบุคคล ระหว่างบุคคล และกลุ่ม (2) วิธีการสื่อสารใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษา และ(3) กลยุทธ์การสื่อสารช่วงก่อนการแข่งขันใช้กลยุทธ์การสื่อสารผ่านกิจกรรม การสั่งการ ระหว่างการแข่งขันใช้การการสื่อสารเพื่อปลูกฝังภาพจำ สร้างโนภาพและจินตภาพ และช่วงหลังการแข่งขันใช้การสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจ
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12311
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT ณัฐพงศ์ สัมปหังสิต.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons