กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12313
ชื่อเรื่อง: การจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาแก่ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพังงา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The public service in elderly education of Phang-nga Province’s Local Administrative Organizations
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลภัสรดา เวียงคำ, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
ผู้สูงอายุ--การศึกษา
บริการสาธารณะ--ไทย--พังงา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาแก่ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพังงา (2) การจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาแก่ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพังงาที่ส่งผลต่อความเสมอภาคทางการศึกษา และ (3) แนวทางการจัดบริการสาธารณะทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพังงาที่จะช่วยเพิ่มความเสมอภาคทางการศึกษาผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสมวิธี เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 375 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม ได้แก่ ผู้อำนวยการกองที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการสาธารณะทางการศึกษาผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 36 คน ที่ได้จากคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ด้วยการประชุมกลุ่มผู้อำนวยการกองที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการสาธารณะทางการศึกษาผู้สูงอายุ และการสัมภาษณ์เชิงลึกนายกเทศมนตรี และผู้สูงอายุ ผลการวิจัย พบว่า (1) การจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาแก่ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพังงามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยการจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาแก่ผู้สูงอายุ ในด้านความต้องการของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับความเสมอภาคของการจัดบริการสาธารณะทางการศึกษาผู้สูงอายุมากที่สุด (2) การศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า แนวทางการจัดบริการสาธารณะทางการศึกษาที่จะช่วยเพิ่มความเสมอภาคทางการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุทำได้โดยจัดทำนโยบายและแผนการจัดการศึกษาผู้สูงอายุให้ชัดเจน (3) มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุและเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุทุกคนเข้าร่วมอย่างทั่วถึง ด้วยการจัดบริการสาธารณะทางการศึกษาให้กับผู้สูงอายุในชุมชน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาผู้สูงอายุให้มากขึ้น ทั้งนี้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพังงาควรจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรทางด้านการจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาแก่ผู้สูงอายุ ทั้งทางด้านปริมาณบุคลากรที่ต้องเพียงพอต่อการดำเนินงาน และทางด้านคุณภาพของบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการศึกษาผู้สูงอายุอย่างเพียงพอ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.(บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12313
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม30.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons