กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12314
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบินและวัฒนธรรมความปลอดภัยต่อการจัดการความเครียดของลูกเรือสายการบินประจำมีกำหนด ในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Influence of crew resource management and safety culture toward stress management of cabin crew of scheduled airlines during COVID-19 situation
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ราณี อิสิชัยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
รชพร จันทร์สว่าง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดิณห์ ศุภสมุทร, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
สายการบิน--การบริหารงานบุคคล
ลูกเรือ--ความเครียดในการทำงาน
การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020-
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบินวัฒนธรรมความปลอดภัย และการจัดการความเครียดของลูกเรือสายการบินประจำมีกำหนดในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) วิเคราะห์อิทธิพลของการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบินต่อการจัดการความเครียดของลูกเรือสายการบินประจำมีกำหนด 3) วิเคราะห์อิทธิพลของวัฒนธรรมความปลอดภัยต่อการจัดการความเครียดของลูกเรือสายการบินประจำมีกำหนด และ 4) วิเคราะห์อิทธิพลของการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบินต่อการจัดการความเครียดของลูกเรือสายการบินประจำมีกำหนดในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผ่านวัฒนธรรมความปลอดภัย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือลูกเรือสายการบินประจำมีกำหนด 5 สายการบิน จำนวน 4,294 คน คำนวณ ขนาดตัวอย่างตามสูตรของเครจซี่และมอร์แกน (1970) ได้ 353 ตัวอย่าง และได้แบบสอบถามสมบูรณ์ 336 ตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิเคราะห์ พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบิน วัฒนธรรมความปลอดภัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการจัดการความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบินมีอิทธิพลต่อการจัดการความเครียด 3) วัฒนธรรมความปลอดภัยมีอิทธิพลต่อการจัดการความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 4) การบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบินมีอิทธิพลกับการจัดการความเครียดโดยมีวัฒนธรรมความปลอดภัยเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบบางส่วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ตัวแปรทั้งสองร่วมกันพยากรณ์ระดับการจัดการความเครียดของลูกเรือสาย การบินประจำมีกำหนดในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ร้อยละ 24.40
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.(บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12314
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons