กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12315
ชื่อเรื่อง: | สมรรถนะแรงงานไทยที่พึงประสงค์ของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Desired Thai labor competency of Japanese executives in automotive industry of Amata City Rayong industrial estate |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา ภาวิน ชินะโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา นฤพล ชูทรัพย์, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ อุปสงค์แรงงาน--ไทย--ระยอง อุตสาหกรรมยานยนต์--ลูกจ้าง--อุปทานและอุปสงค์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะแรงงานไทยที่พึงประสงค์ของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ นิคมอมตะซิตี้ ระยอง 2) จัดลำดับความสำคัญของสมรรถนะแรงงานไทยที่พึงประสงค์ของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาสมรรถนะแรงงานไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริหารชาวญี่ปุ่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง จำนวน 39 คน โดยใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการอุปนัยและการจำแนกชนิดข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับสมรรถนะแรงงานที่พึงประสงค์ของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) สมรรถนะแรงงานไทยที่พึงประสงค์ของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อันดับแรก คือ ด้านความซื่อสัตย์ และมีทัศนคติที่ดีต่อหน้าที่และองค์กร รองลงมา คือ ด้านคุณภาพของชิ้นงาน และผลิตภัณฑ์ ด้านการปฏิบัติงาน ด้านประสิทธิภาพ และผลสำเร็จในการทำงาน ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และอันดับสุดท้าย ด้านการสื่อสารและการนำเสนอ 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะแรงงานไทยที่พึงประสงค์ของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ ควรจัดอบรมทบทวนและเปิดโอกาสให้ทดลองทำเพื่อฝึกฝนทักษะให้ดียิ่งขึ้น ควรฝึกฝนให้พนักงานเป็นผู้ที่ตรงต่อเวลา และการทำงานเป็นทีม ควรฝึกฝนให้พนักงานเข้าใจถึงกระบวนการทำงานอย่างแท้จริง และควรเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และการร่วมแก้ไขปัญหา |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.(บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12315 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.47 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License