กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12316
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของเรือนจำ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development for a high performance organization at Chaibadan district prison in Lopburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พนมพัทธ์ สมิตานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา นพพล อัคฮาด, อาจารย์ที่ปรึกษา ธนกิจ ยงยุทธ, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ การพัฒนาองค์การ เรือนจำ--ไทย--ลพบุรี--การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง (2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อระดับการพัฒนาสู่องค์การสมรรถนะสูง (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง (4) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของเรือนจำอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด ประชากรเป็นบุคลากรของเรือนจำอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี จำนวน 52 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง ภาพรวมอยู่ในภาพ รวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก (2) จากการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อระดับการพัฒนาสู่องค์การสมรรถนะสูง จำแนกตามด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งการทำงาน อายุราชการ พบว่ามีความคิดเห็นต่อการพัฒนาสู่องค์การสมรรถนะสูงที่ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงที่มีความสัมพันธ์ทางบวก ได้แก่ ด้านการนำองค์การ ด้านการบริหารยุทธศาสตร์ ด้านการบริหารองค์การสมัยใหม่ ด้านการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล (4) แนวทางการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของเรือนจำอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ด้านการนำองค์การ การประสานงานขององค์การกับเจ้าหน้าที่ที่ยังขาดความรู้อย่างทั่วถึง โดยเพิ่มการถ่ายทอดความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่หรือการสื่อสารที่เข้าถึงเจ้าหน้าที่ได้ง่าย ด้านการบริหารยุทธศาสตร์ ควรให้เจ้าหน้าที่ในองค์การได้รับการฝึกอบรมในการแปลงยุทธศาสตร์เพื่อนำไปปฏิบัติงานให้ตรงกับความรับผิดชอบในการเป็นแนวปฏิบัติที่ดี ด้านการบริหารองค์การสมัยใหม่ ควรให้เจ้าหน้าที่เห็นความสำคัญกับการทำงานเป็นทีมมากกว่าการทำงานแบบเฉพาะตัวบุคคล เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกคนสามารถร่วมกันทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี ด้านการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล ควรสร้างขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานทำให้การพัฒนางานให้ดีขึ้น สามารถวางแผนการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ได้รับความไว้วางใจและเชื่อมั่นในความสามารถ มีความรู้สึกว่าได้รับส่วนหนึ่งของผลงานที่ประสบความสำเร็จ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.(บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12316 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.78 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License