Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12317
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์ของสตรีมุสลิมที่มารับบริการคลอดในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปัตตานี
Other Titles: Factors related to anemia during pregnancy of muslim women who received Delivery Services in the Community Hospitals, Pattani Province
Authors: สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
เรณุการ์ ทองคำรอด, อาจารย์ที่ปรึกษา
ระพีพร แพทย์จะเกร็ง, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์
เลือดจางขณะตั้งครรภ์
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์ของสตรีมุสลิมที่มารับบริการคลอดในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปัตตานี การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาเชิงปริมาณ โดยศึกษาเวชระเบียนของสตรีมุสลิมที่มารับบริการคลอดในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปัตตานี จำนวน 332 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโลหิตจางจำนวน 8 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคส์สแควร์ และ วิเคราะห์ถดถอยแบบโลจิสติกและ ระยะที่ 2 การศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 40 คน ได้แก่ สตรีมุสลิมที่มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์จากระยะที่ 1 15 คน ผู้มีอิทธิพลต่อสตรีมุสลิม ได้แก่ สามี มารดา และโต๊ะบีแด 18 คน และ พยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการสุขภาพแก่สตรีตั้งครรภ์มุสลิม 7 คน ผู้วิจัยบันทึก และถอดเทปแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า สตรีมุสลิมมีภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์ ร้อยละ 32.83 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์ของสตรีมุสลิม ได้แก่ อายุครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ และจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ (p<0.05) และเมื่อทดสอบอิทธิพลร่วมของปัจจัยคัดสรรต่อภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์มุสลิม พบว่า อายุครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกมีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR 2.114, 95%Cl 1.33 - 3.37) การศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยที่ทำให้สตรีตั้งครรภ์มุสลิมสามารถเอาชนะภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ (1) การมาฝากครรภ์เร็ว (2) กลัวอันตรายกับบุตรในครรภ์และตนเอง (3) ความห่วงใยและการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว และ (4) การ "กล้า" ขัดความเชื่อของผู้มีอิทธิพลในครอบครัว และปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดี และ 2) ปัจจัยที่ทำให้ต้องอยู่กับภาวะโลหิตจางตลอดการตั้งครรภ์ ได้แก่ (1) ความเชื่อว่าภาวะโลหิตจางไม่มีอันตราย (2) การมาฝากครรภ์ล่าช้า (3) การไม่มาฝากครรภ์ตามนัด (4) ไม่วางแผนครอบครัว มีบุตรตั้งแต่อายุน้อย หรือมีบุตรติดกันหลายคน (5) ไม่รับประทานยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กอย่างสม่ำเสมอตามแผนการรักษา (6) รับประทานอาหารไม่เพียงพอ และ (7) ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อแก้ไขภาวะโลหิตจาง
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12317
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.62 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons