Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12320
Title: | รูปแบบการจัดการดูแลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออาร์เอสวีในเด็กเล็ก |
Other Titles: | Care management model for prevention of Respiratory Syncytial Virus transmission among children |
Authors: | บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, อาจารย์ที่ปรึกษา เบญจมภัทร เงินปาน, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์ ทางเดินหายใจ--โรค--การป้องกันและควบคุม |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการณ์และความต้องการของการจัดการดูแลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออาร์เอสวีในเด็กเล็ก สถาบันบำราศนราดูร 2) สร้างรูปแบบการจัดการดูแล และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการดูแลที่พัฒนาขึ้น ผู้ให้ข้อมูล เลือกแบบเฉพาะเจาะจง มี 2 กลุ่ม 1) ผู้ดูแลเด็กป่วย 5 คน และผู้ให้บริการ คือ แพทย์และพยาบาล 10 คน และ 2) ผู้แทนกลุ่มผู้ให้บริการ 4 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน รวม 7 คน เครื่องมือวิจัย มี 2 ชุด 1) แบบสอบถามกึ่งโครงสร้างสำหรับผู้ดูแล และผู้ให้บริการ และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการดูแลที่พัฒนาขึ้น ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่า CVI เท่ากับ 0.76 , 0.78 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติพรรณนา ผลการวิจัย 1) สภาพการณ์และความต้องการของการจัดการดูแล พบปัญหาของผู้ดูแล 6 ประเด็น (1) ขาดความรู้เรื่องโรคอาร์เอสวี อาการ ความรุนแรง การดำเนินการของโรค และความรู้ในการแพร่กระจายเชื้อ (2) ขาดทักษะในการดูแลเพื่อการป้องกัน และการดูแลเมื่อมีความผิดปกติ (3) ขาดความมั่นใจและมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเกิดการติดเชื้อ (4) ต้องการความมั่นใจในการดูแลต่อที่บ้านภายใต้การให้คำปรึกษาของผู้ให้บริการ (5) ขาดการวางแผนการจำหน่ายและการดูแลอย่างต่อเนื่อง (6) ไม่มีบริการช่องทางการรับยาเฉพาะสำหรับเด็กติดเชื้อและได้รับยาอย่างรวดเร็ว และผู้ให้บริการมีความต้องการ 3 ประเด็น (1) ผู้ดูแลต้องมีความรู้ ทักษะและความมั่นใจในการปฏิบัติตน (2) ผู้ให้บริการต้องจัดบริการที่บ้านเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ดูแลเด็กป่วย และให้คำปรึกษานอกเวลาราชการได้ นอกจากนั้น ยังจำเป็นต้องพัฒนาจุดให้บริการในโรงพยาบาล สิ่งอำนวยความสะดวก และการประสานงานส่งต่อผู้ป่วย และ (3) จัดทำแผนการจำหน่วยและติดตามการรักษาผู้ป่วยต่อเนื่องทุกรายจนหายเป็นปกติ และ 2) รูปแบบการจัดการดูแลที่พัฒนาขึ้น มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ บริบทของความเสี่ยง กระบวนการจัดการดูแล และผลลัพธ์ของการจัดการดูแล และ 3) รูปแบบการจัดการดูแลที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้ในสถาบันบำราศนราดูร ร้อยละ 89.92 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12320 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License