กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12331
ชื่อเรื่อง: การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพบริการโรงพยาบาล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A Narrative synthesis on the quality improvement of hospital service
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เยาวภา ปิ่นทุพันธ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นันสกี มูลตะกอน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: โรงพยาบาล--การควบคุมคุณภาพ
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) จำแนกปัจจัยเกี่ยวกับคุณภาพบริการโรงพยาบาล (2) ตรวจสอบระเบียบวิธีวิจัย และ (3) ประเมินคุณภาพของงานวิจัยที่ทำการสังเคราะห์ และ (4) สรุปผลงานวิจัยที่มีคุณภาพในการนำไปใช้ในส่วนที่เกี่ยวข้องการศึกษาใช้รูปแบบการสังเคราะห์เชิงคุณภาพโคยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาในการจำแนกประเด็นงานวิจัยที่สำคัญการสืบกับงานวิจัยจากฐานข้อมูลทางอินเทอร์เนตที่มีความเชื่อมโยงไปยังห้องสมุดของมหาวิทยาลัยทั่วทุกภาคของประเทศได้เอกสารงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และงานค้นคว้าอิสระ ที่ศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับภาพบริการโรงพยาบาลในประเทศ และตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2549 จำนวน 10 เรื่อง เครื่องมือเป็นแบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการวิจัย ทำการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยการแจกแจงความถี่ และร้อยละ และทำการสังเคราะห์ข้อมูลชิงคุณภาพโดยการประเมินเชิงวิพากษ์ และให้คะแนนตามความเหมาะสมของเนื้อหาผลการสังเคราะห์งานวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพบริการโรงพยาบาลที่ทำการศึกษาไว้มี 6 ด้านหลัก คือ ด้านทรัพยากรและการจัดทรัพยากร และด้านกระบวนคุณภาพ มีระบุในงานวิจัยทุกเรื่อง ด้านดูแลรักษาผู้ป่วย มีระบุในงานวิจัย 9 เรื่อง ด้านการรักษามาตรฐานและจริยธรรมวิชาชีพ มีระบุในงานวิจัย 7 เรื่อง ด้านสิทธิผู้ป่วยและจริยธรรมองค์กร มีระบุในงานวิจัย 6 เรื่อง และด้านความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพ มีระบุในงานวิจัย 5 เรื่อง (2) งานวิจัยส่วนมากศึกษาในกลุ่มผู้ให้บริการหรือผู้รับบริการ ใช้วิธีคำนวณขนาดตัวอย่างและวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ ใช้แบบสอบถามแบบให้ตอบด้วยตนเองซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญและการทดลองใช้หาความเที่ยง เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีอัตราการตอบกลับมากกว่าร้อยละ 80และใช้สถิติสำหรับหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา (3) งานวิจัยทุกเรื่องมีคะแนนผลการประเมินเชิงวิพากษ์คุณภาพงานวิจัย มากกว่าร้อยละ 80 ขึ้นไป ซึ่งพิจารณาว่ามีคุณภาพสูงสำหรับการนำข้อค้นพบงานวิจัยไปใช้อ้างอิง และ (4) งานวิจัยส่วนมากมีผลงานวิจัยสอดคล้องกันเกี่ยวกับ (4.1) ความสัมพันธ์ระหว่างความมุ่งมั่นของผู้นำองค์กร และลักษณะของผู้นำ กับผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพบริการ และระหว่างความสามารถของวหน้าระดับต่าง ๆ กับการทำกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพบริการ (4.2) ความสำคัญของความสามารถด้านการดูแลรักษาของแพทย์ พยาบาล อัธยาศัยที่ดี และการตอบสนองผู้รับบริการอย่างรวดเร็ว และ (4.3) รูปแบบกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพบริการ ซึ่งใช้การฝึกอบรม การทดลองปฏิบัติ การพัฒนาตนเองตามคู่มือ การทำงานเป็นทีม การยึดหลักความพึงพอใจของผู้รับบริการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12331
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_115734.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons