Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12334
Title: | คุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่เข้ารับยาต้านไวรัสจังหวัดชัยนาท |
Other Titles: | Quality of life among persons with HIV/AIDS receiving anti-retrovirus treatment in Chainat province |
Authors: | วรางคณา ผลประเสริฐ เนตร์นภา อินทร์รองพล, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้ติดเชื้อเอชไอวี--การดูแล ผู้ติดเชื้อเอชไอวี--ไทย--ชัยนาท โรคเอดส์--ผู้ป่วย--การดูแล การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์ |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ปวยเอดส์ที่เข้ารับยาต้านไวรัสจังหวัดชัยนาท มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อเอชไอวีผู้ป่วยเอดส์ที่เข้ารับยาดต้านไวรัสในโรงพยาบาล ของจังหวัดชัยนาท และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสุขภาพและปัจจัยด้าน การได้รับการดูแล กับคุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อเอชไอวีผู้ป่วยเอดส์ที่เข้ารับยาต้านไวรัส การศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา ทำการศึกษาในกลุ่มประชากรผู้ติดเชื้อเอชไอวีผู้ป่วยเอดส์ ที่มารับบริการยาต้านไวรัสในโรงพยาบาลของจังหวัดชัยนาท จำนวน 150 ราย ในช่วงเดือน มีนาคม - เมษายน 2554 โดยใช้เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล แบบสอบถามข้อมูลด้านสุขภาพ แบบสอบถามข้อมูลด้าน การได้รับการดูแล และแบบสอบถามข้อมูลด้านคุณภาพชีวิต ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.37 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ ทดสอบฟิชเชอร์ เอ็กซ์แซค และการทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีผู้ปวยเอดส์มีระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 81.3 เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ อยู่ในระดับดี และมีค่าคะแนนสูงสูด รองลงมา ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสุขภาพกาย ส่วนคุณภาพชีวิตในระดับไม่ดี และมีค่าคะแนนสูงสุด ได้แก่ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ได้แก่ อาชีพ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีผู้ปวยเอดส์ ที่มารับบริการยาต้านไวรัสในโรงพยาบาลของจังหวัดชัยนาท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระยะเวลาการติดเชื้อเอชไอวีมีความสัมพันธ์เชิงลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ดิดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่มารับบริการยาต้านไวรัส ในโรงพยาบาลของจังหวัดชัยนาท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิดิที่ระดับ 1.05 และการได้รับการดูแลจากบุคคลภายในครอบครัวมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่มารับบริการยาต้านไวรัสในโรงพยาบาล ของจังหวัดชัยนาท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะคือ ควรสนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวได้มีโอกาสเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิต และส่งผลต่อการมีชีวิตที่ยืนยาวของผู้ดติดเชื้อเอ็ชไอวีผู้ป่วยเอดส์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12334 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_125294.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License