กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12346
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีวิสัยทัศน์กับการบริหารธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between visionary leadership and governance management of Local Administrative Organization in Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤตติกา หงส์หิน, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ธรรมรัฐ--ไทย--พะเยา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา(1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา (2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา และ(3) ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีวิสัยทัศน์กับการบริหารธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ ข้าราชการ และพนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างตามภารกิจ และอื่น ๆ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 หน่วยงาน ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 2,911 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร ยามาเน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 352 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา โดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการเพิ่มอำนาจผู้ปฏิบัติด้านการเปลี่ยนแปลงองค์การอย่างเหมาะสม ด้านวิสัยทัศน์ ด้านการคิดแบบกลยุทธ์ และด้านการสื่อสาร ตามลำดับ (2) การบริหารธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา โดยภาพรวมทั้ง 10 ด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักคุณธรรม หลักการบริหารจัดการ หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักเทคโนโลยีดิจิทัล และหลักการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ตามลำดับ (3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีวิสัยทัศน์มีความสัมพันธ์กันในทางบวกกับการบริหารธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพะเยาอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถีติที่ระดับ 0.01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.(บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12346
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม34.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons