กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12355
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาฉลากผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงชนิดฉีดพ่นอัดก๊าซตามระบบการจำแนกสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Label development of spraying pesticide according to Globally Harmonized system of classification and labelling of Chemicals (GHS)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศริศักดิ์ สุนทรไชย
ปวีณา ยะวงศา, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
สารเคมี--ฉลาก
สารเคมี--การจัดการ
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ มีการนำระบบการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลกหรือ GHS มาใช้ ประเทศไทยได้เริ่มนำระบบ GHS มาใช้ในการจำแนกประเกทและการติดฉลากสารเคมีและข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงชนิดฉีดพ่นอัดก๊าซเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ผลิตมาจากสารเคมีที่เป็นอันตรายหลายชนิดและจากการตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในท้องตลาดปัจจุบันยังไม่มีข้อความแสดงความเป็นอันตรายที่จะเตือนผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ มีแต่วิธีใช้และการป้องกันตนเอง วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อพัฒนาฉลากผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงชนิดฉีดพ่นอัดก๊าซตามระบบ GHร และ 2) เปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ระหว่างฉลากที่มีอยู่ในท้องตลาดกับฉลากที่จัดทำตามระบบ GHS ผู้ศึกษาได้พัฒนาฉลากผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงชนิดฉีดพ่นอัดก๊าซตามระบบ GHS แล้วมาทำการทดสอบเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์นี้กับฉลากแบบปัจจุบันที่อยู่ในท้องตลาด โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นประชาชนทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปที่เป็นข้าราชการ และผู้มาติดต่อราชการของกรมการค้าต่างประเทศ จำนวน 100 คน สรุปผลการวิจัย 1) ผู้ศึกษาได้ทำการพัฒนาฉลากผลิตภัณฑ์ฯตามระบบ GHS โดยครอบคลุมความเป็นอันตรายทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ความเป็นอันตรายทางกายภาพ ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจความรู้ ความเข้าใจฉลากผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงชนิดฉีดพ่นอัดก๊าซส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41- 50 ปี การศึกษาระดับปริญญา อาชีพรับราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ตอบแบบสำรวจฯส่วนใหญ่ชอบฉลากผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมามากกว่าแบบปัจจุบัน ในด้านความชัดเจนและความเข้าใจของสัญลักษณ์และข้อมูลแสดงความเป็นอันตรายและข้อควรปฏิบัติ เมื่อเห็นสัญลักษณ์และข้อมูลแสดงความเป็นอันตรายมีความสนใจหรือต้องการอ่านรายละเอียดที่เหลือ ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามระบบ GHS คือ สัญลักษณ์บางสัญลักษณ์ยังไม่เป็นที่คุ้นเคย และทำให้เกิดความสับสนในการสื่อความหมายของสัญลักษณ์ ภาครัฐควรทำการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วๆ ไปมีความรู้ ความเข้าใจกับสัญลักษณ์ต่างๆ การนำระบบ GHS มาใช้อย่างแพร่หลาย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12355
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_129440.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons