Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12358
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติการรับรู้อันตรายจากเสียงกับการใช้ที่อุดหู : กรณีศึกษาแผนกรื้อล้างภาชนะอุปกรณ์ ฝ่ายครัวการบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) |
Other Titles: | Relationship between attitude, perception of noise hazard and ear plugs usage : case study Ware Washing Division, Catering Service Department Thai Airways International Public Company Limited |
Authors: | สราวุธ สุธรรมาสา มนัส ทีคะวงษ์, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี บริษัทการบินไทย--พนักงาน--ทัศนคติ มลพิษทางเสียง--การป้องกันและควบคุม หู--การป้องกัน การได้ยิน การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์ |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างและการใช้ที่อุดหู (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับการใช้/ไม่ใช้ที่อุดหู (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับการใช้ที่อุดหู (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้อันตรายจากเสียงกับการใช้ที่อุดหู กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พนักงานแผนกรื้อล้างภาชนะ อุปกรณ์ ฝ่ายครัวการบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วยพนักงานประจำ 50 คน และ พนักงานแรงงานภายนอก 100 คน รวมทั้งสิ้น 150 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสมภาษณ์วัดคุณลักษณะ กลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน นำไปสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเป็นรายบุคคล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไสแควร์ และ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) พนักงานส่วนใหญ่ร้อยละ 56 ไม่ใช้ที่อุดหูขณะทำงาน พนักงานส่วนที่ใช้ที่อุดหูมีพฤติกรรมการใช้บ่อยครั้ง มีทัศนคติต่อการใช้ที่อุดหูระดับสูงและการรับรู้ อันตรายจากเสียงระดับสูง (2) เพศ อายุ สถานภาพการสมรส อายุการทำงาน และการทำงานล่วงเวลา มีความสัมพันธ์กับการใช้/ไม่ใช้ที่อุดหูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ทัศนคติต่อการใช้ที่อุดหูมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการใช้ที่อุดหูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) การรับรู้อันตรายจากเสียงไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการใช้ที่อุดหู |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12358 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_85773.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License