กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12360
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมในการทำงานกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง จังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationships between personal factors, work environment, and work satisfaction of staff nurses in community hospitals (60 beds), Suphanburi [i.e. Suphan Buri] province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยุบล แสงอรุณ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สภาพแวดล้อมในการทำงาน
พยาบาล--ความพอใจในการทำงาน
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
ความพอใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำงานและความพึงพอใจในงาน (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมในการทำงานกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 154 คนเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แบบสอบถามคืน 141 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 91.56 ของกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพแวดล้อมในการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ในระดับดีมีค่าเฉลี่ย 3.56 มีระดับความพึงพอใจในงานโดยรวมในระดับค่อนข้างมากมีค่าเฉลี่ย 4.74 โดยพบว่าองค์ประกอบด้านลักษณะงานมีค่าเฉลี่ย สูงสุดเท่ากับ 5.26 ส่วนองค์ประกอบด้านค่าตอบแทนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ 4.16 (2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ และสถานภาพสมรส ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงาน ประสบการณ์การทำงานมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (3) สภาพแวดล้อมในการทำงานโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความพึงพอใจในงาน โดยพบว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานในมิติสัมพันธภาพ มิติความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และมิติการคงไว้และการเปลี่ยนแปลงระบบงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงานในระดับ ปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12360
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_85800.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons