กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12361
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการเมืองไทยแข็งแรงของสมาชิกเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The opinions and participations of people health network member in the Implementation of Healthy Thailand Project, Kantung District in Trang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยะรัตน์ กฤตยานวัช
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: โครงการเมืองไทยเข้มแข็ง--การมีส่วนร่วมของประชาชน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
อนามัยชุมชน--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนในการดำเนินงาน โครงการเมืองไทยเข็งแรง (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและความคิดเห็นกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนในการดำเนินงานโครงการเมืองไทยแข็งแรง อำเภอกันตัง จังหวัคตรัง ประชากรที่ศึกษาคือสมาชิกเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการสานใจคนกันตังแข็งแรงสู่เมืองไทยแข็งแรง อำเภอกันตังตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2549 -2550 ประกอบไปด้วยอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) สมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.) กำนันผู้ใหญ่บ้านและสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพกลุ่มตัวอย่างจำนวน 227 คน สุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงในด้านความคิดเห็นเท่ากับ 0.75 และด้านการมีส่วนร่วมเท่ากับ 0.89 ได้แบบสอบถามกลับคืนครบทั้งหมด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา การทดสอบไคสแควร์ และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 42.54 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีอาชีพเกษตรกรรม มีร้ายได้ต่อเดือน 5,000 -10,000 บาท ดำรงตำแหน่งเป็น อสม. ความคิดเห็นโดยรวมต่อการดำเนินงานโครงการเมืองไทยแข็งแรงอยู่ในระดับสูง การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการเมืองไทยแข็งแรงในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) เพศ การศึกษา อาชีพ การดำรงตำแหน่งในชุมชนไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมมีเพียงรายได้ที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมและอายุมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำสุดกับความคิดเห็นของเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 ความคิดเห็นด้านประโยชน์ บทบาทของสมาชิกเครือข่าย การจัดทำแผนงานและการได้รับรางวัลของชุมชนมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ความคิดเห็นในภาพรวมไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการเมืองไทยแข็งแรง ข้อเสนอแนะ จากการวิจัยคือจะต้องพัฒนารูปแบบและส่งเสริมให้สมาชิกองค์กรต่างๆ ในชุมชนมีส่วนร่วมในโครงการเมืองไทยแข็งแรงโดยนำความคิดเห็นที่มีอยู่ในระดับสูงอยู่แล้วมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างการมีส่วนร่วมให้เพิ่มมากขึ้นต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12361
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_115684.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons