กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12380
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคากุ้งหน้าฟาร์มในประเทศไทย: การศึกษาเชิงประจักษ์ด้วยวิธีการทางอนุกรมเวลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors influencing farm-gate shrimp prices in Thailand: the empirical study using time series method
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร
ดลธร ม่วงศรีสันต์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อภิญญา วนเศรษฐ
คำสำคัญ: กุ้ง--ราคา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์การผลิต การตลาด และการค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ของประเทศไทย และ (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคากุ้งหน้าฟาร์มของประเทศไทย ได้แก่ ราคาส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ ราคากุ้งในตลาดโลก ปริมาณการผลิตกุ้งในประเทศ ปริมาณส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ และค่าเงินบาท ผลการศึกษาพบว่า (1) การผลิตกุ้งขาวแวนนาไมคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 95.795 ของปริมาณการผลิตรวมกุ้งทะเลของประเทศไทย โดยการผลิตกุ้งและผลิตภัณฑ์ใช้เพื่อการบริโภคในประเทศเพียง ร้อยละ13.378 และส่งออกในลักษณะของกุ้งแช่เย็นแช่แข็งและกุ้งแปรรูป ร้อยละ 86.622 ทั้งนี้ ประเทศผู้นำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของไทย ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา เมียนมา ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ แคนาดา ออสเตรเลีย เป็นต้น และ (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคากุ้งหน้าฟาร์มในประเทศไทย ณ นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ราคาส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ ปริมาณการผลิตกุ้งในประเทศ และปริมาณส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวมีดุลยภาพเท่ากับ ร้อยละ 1.083 ร้อยละ -0.256 และ ร้อยละ 0.123 ตามลำดับ ทั้งนี้ หากความสัมพันธ์ถูกเบี่ยงเบนออกจากดุลยภาพแล้วนั้น ราคากุ้งหน้าฟาร์มในประเทศไทยจะมีการปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพอีกครั้งหนึ่งด้วยความเร็วเท่ากับ ร้อยละ 20.147
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12380
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons