กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1239
ชื่อเรื่อง: | การนำความรู้ทางโหราศาสตร์มาใช้ประกอบการวินิจฉัยและรักษาโรคตามหลักการแพทย์แผนไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Application of astrological knowledge in the diagnosis and treatment of diseases following the principles of Traditional Thai Medicine |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมเกียรติ วัฒนาพงษากุล พัฒน์พงศ์ กมลดิลก, 2489- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปรียา หิรัญประดิษฐ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ การแพทย์แผนไทย โหราศาสตร์--แง่การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ 1) การนำความรู้ทางโหราศาสตร์มาใช้ประกอบการวินิจฉัยโรคตามหลักการแพทย์แผนไทย และ 2) การนำความรู้ทางโหราศาสตร์มาใช้ประกอบการรักษาโรคตามหลักการแพทย์แผนไทยงานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารประเภทตำราโหราศาสตร์ และตำราการแพทย์แผนไทย และกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพนักพยากรณ์ จำนวน 3 คน และแพทย์แผนไทย จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล และแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง โดยนำเสนอผลงานวิจัยแบบพรรณาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า 1) การนำความรู้ทางโหราศาสตร์มาใช้ประกอบการวินิจฉัยโรค ประกอบด้วย ก) จักรราศี เป็นการวินิจฉัยโรคเพื่อให้ทราบส่วนของร่างกายที่เกิดโรค ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับราศีเกิด ข) หัตถศาสตร์ เป็นการวินิจฉัยโรคโดยบอกให้ทราบทั้งอาการของโรค และแนวโน้มของโรค ที่อาจเกิดกับเจ้าของลายมือ และ ค) เลข 7 ตัว เป็นการวินิจฉัยโรคโดยอาศัยข้อมูล วัน เดือน ปี เกิด ของผู้ป่วย ซึ่งจะบอกให้ทราบทั้งโรคทั่วไปและโรคเรื้อรัง และ 2) การนำความรู้ทางโหราศาสตร์มาใช้ประกอบการรักษาโรคตามหลักการแพทย์แผนไทย ผู้วิจัยพบว่าแพทย์แผนไทยให้ ความสำคัญกับ สมุฏฐานหรือที่ตั้งแรกเกิดของโรคเป็นหลักในการรักษา ซึ่งประกอบไปด้วย ก) การรักษาตามธาตุ โดยพิจารณารักษาตามธาตุที่แตกและพิการ เพื่อให้หายจากอาการป่วย ข) การรักษาตามธาตุเจ้าเรือน เป็นการรักษาและป้องกันโดยใช้รสยาและอาหารประจำธาตุ ค) การรักษาโรคประจำฤดู เป็นการรักษาด้วยตำรับยาประจำฤดู อาทิ ในฤดูฝน เกิดจากวาโยธาตุพิการ ทำให้ผอมเหลือง ปวดเมื่อยร่างกาย วิงเวียนศีรษะ เป็นลม ร้อนในอก ให้แกด้วยยาชื่อ ฤทธิจร หรือรักษาด้วยรสยา โดยใช้ยาสมุนไพรรสเผ็ด รสร้อน และรสสุขุม ส่วนในฤดูอื่นก็รักษาด้วยยาตำรับและรสยาที่สัมพันธ์ในฤดูนั้น และ ง) การรักษาโรคตามอายุ และตามกาลเวลาเป็นการรักษาตามอาการของโรคที่เกิดขึ้นตามอายุ และช่วงเวลาในวันหนึ่ง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1239 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext (14).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.45 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License