กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12401
ชื่อเรื่อง: | ผลการประยุกต์ใช้วิธีสอนตามกระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of application of the teaching method based on the creative thinking development process to develop creative thinking in Thai language of Prathom Suksa II students under Prachuap Khiri Khan Educational Service Area Office 2 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธีรยุทธ์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา อุมาพร พินิจภารการณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุมาลี สังข์ศรี นภาลัย สุวรรณธาดา |
คำสำคัญ: | ภาษาไทย--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์ ความคิดสร้างสรรค์--การศึกษาและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ในวิชากาษาไทย ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้วิธีสอนตามกระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ (2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ในวิชาภาษาไทยระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้วิธีสอนแบบปกติ (3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ในวิชาภาษาไทย หลังเรียนของนักเรียนที่เรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้วิธีสอนตามกระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ กับนักเรียนที่เรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้วิธีสอนแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคิดสร้างสรรค์ในวิชาภาษาไทยโดยภาพรวมและในรายด้านทุกด้าน ได้แก่ด้านความคิดคล่องตัว ด้านความคิดยืดหยุ่น ด้านความคิดริเริ่มของนักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีสอนตามกระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ความคิดสร้างสรรค์ในวิชาภาษาไทยโดยภาพรวมและในรายด้านทุกด้าน ได้แก่ ด้านความคิดคล่องตัว ด้านความคิดยืดหยุ่นด้านความคิดริเริ่มของนักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบปกติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(3) ความคิดสร้างสรรค์ในวิชาภาษาไทยโดยภาพรวมและรายด้านในด้านความคิดคล่องตัว ด้านความคิดริเริ่มหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีสอนตามกระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ส่วนในด้านความคิดยืดหยุ่นนั้นพบว่าสูงกว่าอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12401 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.44 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License