กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12408
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้สารจากหนังสือพิมพ์เป็นสื่อพัฒนาการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of using information from newspapers as media to develop comprehension reading and precis writing of Mathayom Suksa II students at Kasetsart University Laboratory School, Kamphang Saen Capus, Educational Research and Development Center, Nakhon Pathom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนรัชฎ์ ศิริสวัสดิ์
สุวีณา เดือนแจ้ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์
สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล
คำสำคัญ: การอ่านขั้นมัธยมศึกษา
ความเข้าใจในการอ่าน
หนังสือพิมพ์และการอ่าน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ใช้สารจากหนังสือพิมพ์เป็นสื่อในการฝึกทักษะการอ่านและการเขียน (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเขียนสรุปความก่อนเรียนกับหลังเรียนที่ใช้สารจากหนังสือพิมพ์เป็นสื่อในการฝึกทักษะการอ่านและการเขียน (3) ศึกษาความสัมพันธ์ของผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความกับการเขียนสรุปความของนักเรียนที่ใช้สารจากหนังสือพิมพ์เป็นสื่อใน การฝึกทักษะการอ่านและการเขียน (4) ศึกษาความสัมพันธ์ของผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนที่ใช้สารจากหนังสือพิมพ์เป็นสื่อในการฝึกทักษะการอ่านและการเขียน และ (5) ศึกษาความสัมพันธ์ของผลสัมฤทธิ์การเขียนสรุปความก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนที่ใช้สารจากหนังสือพิมพ์เป็นสื่อในการฝึกทักษะการอ่านและการเขียน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความหลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 (2) ผลสัมฤทธิ์การเขียนสรุปความหลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (3) ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความกับการเขียนสรุปความไม่มีความสัมพันธ์กัน (4) ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความก่อนเรียนและหลังเรียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (5) ผลสัมฤทธิ์การเขียนสรุปความก่อนเรียนและหลังเรียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12408
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons