Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12415
Title: | บทบาทที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดนครราชสีมา |
Other Titles: | Actual and expected roles of the teacher and educational personnel sub-committee as perceived by teachers and educational personnel under the Offices of Nekhon Ratchasima Educational Service Area |
Authors: | สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร ชื่นฤดี บุตะเขียว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ประสิทธิ์ เขียวศรี |
Keywords: | คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการครู--การทำงาน บุคลากรทางการศึกษา--การทำงาน บุคลากรทางการศึกษา--ภาระงาน ข้าราชการครู--ภาระงาน |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา (2) ความต้องการจำเป็นในการปฏิบัติตามบทบาทอำนาจหน้าที่ ของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อ ในทัศนะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการปฏิบัติงานตามบทบาทที่เป็นจริงของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา ผลการวิจัยพบว่า (1)บทบาทที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติตามบทบาทที่ปฏิบัติจริงอยู่ในระดับปานกลาง และบทบาทที่คาดหวังมีความคาดหวังให้ปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก (2) ความต้องการจำเป็นในการปฏิบัติตามบทบาทอำนาจหน้าที่ ของ คณะ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ในทัศนะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการเป็นอันดับแรก คือ พิจารณาให้ความเห็นชอบการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา มีความเหมาะสม และตรงตามความรู้ความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการปฏิบัติงานตามบทบาทที่ปฏิบัติจริงของคณะ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาปฏิบัติหน้าที่ไม่สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ ได้รับการปฏิบัติไม่เท่าเทียมกัน มีอำนาจหน้าที่ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง พบว่า อ.ก.ค.ศ. ใช้อำนาจในการแสวงหาผลประโยชน์ ใช้ระบบอุปถัมภ์มีปัญหาเกี่ยวกับดุลอำนาจ โดยอาจมีการใช้อำนาจเพื่อการผลประโยชน์ หรือใช้ระบบอุปถัมภ์ ในการปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติงานโดยขาดความเป็นอิสระและอื่น ๆ ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ คือ ควรมีการอบรมด้านกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง กำหนดบทลงโทษในกรณีที่ อ.ก.ค.ศ. กระทำความผิดไปจากหลักเกณฑ์หรือปลดออกได้ถึงแม้จะยังไม่ครบวาระ หรือกำหนดวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละไม่เกิน 2 ปี |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12415 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License