กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12460
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยจูงใจในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทไทย-ซาโตะ เทเบิลแวร์ จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Motivation factors for operational employees of Thai-Sato Tableware Company Limited |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศรีธนา บุญญเศรษฐ์ กนกอร ศิรินิมิตรผล, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี บริษัทไทย-ซาโตะ เทเบิลแวร์ จำกัด--พนักงาน--ความพอใจในการทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการจูงใจของปัจจัยจูงใจในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทไทย-ซาโตะ เทเบิลแวร์ จำกัด (2) เปรียบเทียบปัจจัยจูงใจในการทำงานของหนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท ไทย-ซาโตะ เทเบิลแวร์ จำกัด จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล (3) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงการจูงใจในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท ไทย-ซาโตะ เทเบิลแวร์ จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานระดับปฏิบัติการบริษัท ไทย-ซาโตะ เทเบิลแวร์ จำกัด จำนวนทั้งสิ้น 119 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 92 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การทคสอบความแตกต่างด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยจูงใจในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท ไทย-ซาโตะ เทเบิลแวร์ จำกัด ทั้งในภาพรวมและรายปัจจัยทุกปัจจัยมีระดับการจูงใจมาก และเมื่อพิจารณาปัจจัยกระตุ้นเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีระดับการจูงใจมาก โดยมากที่สุดคือ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ รองลงมาคือ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่ง ด้านความสำเร็จในการทำงาน และด้านลักษณะงานความรับผิดชอบ ส่วนปัจจัยค้ำจุน พบว่าทุกด้านมีระดับการจูงใจมาก โดยมากที่สุดคือ ด้านนโยบายและการบริหารงาน รองลงมาคือ ด้านวิธีการปกครองของผู้บังคับบัญชา ด้านชีวิตส่วนตัว ด้านสภาพการทำงาน ด้านเงินเดือนและรายได้ ด้านความมั่นคงในงาน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (2) พนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท ไทย-ซาโตะ เทเบิลแวร์ จำกัด ที่มี เพศ รายได้ต่อเดือน แตกต่างกันมีระดับการจูงใจของปัจจัยจูงใจในการทำงานทุกด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานที่มี อายุ สถานภาพสมรส วุฒิการศึกษาชั้นสูงสุด อายุงาน แผนกที่สังกัด แตกต่างกันมีระดับการจูงใจของปัจจัยจูงใจในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ผู้บริหารของบริษัทไทย-ซาโคะ เทเบิลแวร์จำกัด ควรจูงใจหนักงานโดยเน้นในด้านการได้รับการยอมรับนับถือโดยจัดให้มีการวัดผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรม เพื่อกำหนดรางวัลตอบแทนในการปฏิบัติงาน และด้านนโยบายและการบริหารงานควรชัดให้มีนโยบายที่ชัดเจนในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน โดยกำหนดการประชุมระดับฝ่ายทุกสัปดาห์เพื่อใช้ช่องทางการกระจายนโยบาย ไปยังหัวหน้าแผนก และหนักงาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12460 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_124290.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.53 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License