กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12470
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังโรคเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to community participation in diabetes mellitus surveillance of health volunteers in Suanlaung District, Bangkok Metropolitan Administration
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์
ศันสนีย์ รัศมี, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
อาสาสมัครสาธารณสุข--ไทย--กรุงเทพฯ
การเฝ้าระวังโรค--การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะประชากรของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) (2) ระดับความรู้เรื่องโรคเบาหวาน (3) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (4) ระดับการมีส่วนร่วมของ อสส.(5) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะประชากร ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน กับการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังโรคเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุข ในเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร และ (6) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ อสส.เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร จำนวน 222 คน โดย ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ ได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยง 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณลักษณะประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 50.23 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษา อาชีพเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน มีรายได้เฉลี่ย 9,156.92 บาท ประสบการณ์การทำงาน 5.50 ปี และเคยได้รับการอบรมเรื่องโรคเบาหวาน (2) มีความรู้เรื่องโรคเบาหวานอยู่ในระดับสูง (3) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง (4) การมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังโรคเบาหวาน อยู่ในระดับสูง (5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม ในการเฝ้าระวังโรคเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุข คือ คุณลักษณะประชากรด้านสถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อายุ มีความสัมพันธ์ในระดับน้อยอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (6) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคเบาหวานของ อสส. ได้แก่ ขาดอุปกรณ์ในการดำเนินงานคัดกรอง โรคเบาหวาน ประชาชนในชุมชนไม่ให้ความร่วมมือ และเอกสารความรู้เรื่องโรคเบาหวานไม่เพียงพอข้อเสนอแนะ คือ ควรสนับสนุนอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานคัดกรองโรคเบาหวาน เจ้าหน้าที่ควรออกพื้นที่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข และควรสนับสนุนเอกสารความรู้เรื่อง โรคเบาหวานให้เพียงพอข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบควรพัฒนาศักยภาพของ อสส. ด้านการมีส่วนร่วมคิดร่วมประเมินผล เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสร้างแรงจูงใจให้แก่ อสส. โดยการยกย่องชมเชย สนับสนุนให้รางวัล ตลอดจนจัดทำเกียรติบัตรเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12470
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_125714.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons