Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12493
Title: การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของอัตราส่วนทางการเงินกับความเสี่ยงของโอกาสล้มละลายของบริษัทที่ประกอบกิจการทีวีดิจิตอลในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Other Titles: Financial ratios movement analysis and bankruptcy risk of listed digital TV companies in the Stock Exchange of Thailand
Authors: อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ
กรทอง ชูสร้อย, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การเคลื่อนไหวของอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทก่อนและหลังประกอบกิจการทีวีดิจิตอล 2) เปรียบเทียบค่าความเสี่ยงของโอกาสล้มละลาย ของบริษัทก่อนและหลังประกอบกิจการทีวีดิจิตอล และ 3) เปรียบเทียบการเคลื่อนไหวของอัตราส่วนทางการเงินกับความเสี่ยงของโอกาสล้มละลายของบริษัทก่อนและหลังประกอบกิจการทีวีดิจิตอล ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การศึกษานี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินรายไตรมาส ของ ปี 2555 - 2558 รวมเป็น 16 ไตรมาสของบริษัทที่ประกอบกิจการทีวีดิจิตอล ในกลุ่มอุตสาหกรรมสื่อและสิ่งพิมพ์ (Media) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 8 บริษัท เพื่อนำมาวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของอัตราส่วนทางการเงินและวิเคราะห์ความเสี่ยงของโอกาสที่กิจการจะล้มละลาย โดยคำนวณหาค่าความเสี่ยงของโอกาสล้มละลาย จากแบบจำลอง EM-Score ตามแนวคิดของ Altman ผลการศึกษาพบว่า 1) อัตราส่วนทางการเงินของแต่ละบริษัทส่วนใหญ่หลังประกอบกิจการทีวี ดิจิตอลมีแนวโน้มแย่ลง ซึ่งได้แก่ อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และอัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไรซึ่งมีแนวโน้มลดลง ขณะที่อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสิบทรัพย์รวมอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้สินไม่หมุนเวียนต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชี และอัตราส่วนราคาต่อกำไร มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น 2) ค่า EM-Score ของทุกบริษัทในช่วงก่อนเข้าประกอบกิจการทีวีดิจิตอลอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยจากการล้มละลาย (Sate Zone) และเมื่อเข้าประกอบกิจการทีวีดิจิตอลแล้ว ค่า EM-Score มีแนวโน้มลดลง และ 3) อัตราส่วนที่มีลักษณะการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับค่า EM-Score คือ อัตราส่วนทุนหมุนเวียน อัตราส่วนเงินสด อัตราการเคลื่อนไหวของเงินทุนหมุนเวียนสุทธิอัตราส่วนส่วนของเจ้าของต่อสินทรัพย์รวม และกำไรต่อหุ้น ในขณะที่อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวมอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตราส่วนหนี้สินไม่หมุนเวียนต่อสินทรัพย์รวม มีลักษณะของการเคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงกันข้าม กับ ค่า EM-Score
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12493
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_154912.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.08 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons