กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12495
ชื่อเรื่อง: คู่มือการจัดการด้านความปลอดภัยสำหรับคลังสินค้าอันตรายแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Safety management manual for a dangerous goods warehouse in Chonburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุดาว เลิศพิสุทธิไพบูลย์
สมชาย แซ่อื้อ, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม--การจัดการ
คลังสินค้า
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: สถานประกอบกิจการที่ดำเนินการด้านคลังสินค้าอันตราย จำเป็นต้องมีการปฏิบัติตามกฎหมาย หรือมีการจัดการด้านความปลอดภัยในการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และตามมาตรฐานสหประชาชาติเพื่อควบคุมในทุก ขั้นตอนของกระบวนการจัดเก็บสินค้าอันตรายให้เกิดความปลอดภัย เพราะแนวโน้มการนำเข้าสินค้าอันตรายในคลังสินค้ามีปริมาณมากขึ้นทุกๆ ปี และสินค้าอันตรายที่ จัดเก็บเหล่านี้มีคุณสมบัติไวไฟ กัดกร่อน เป็นพิษ และระเบิดได้รวมทั้งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน และมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และภาวะ ฉุกเฉิน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำคู่มือการจัดการด้านความปลอดภัยสำหรับคลังสินค้าอันตรายแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรีขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัยวิธีดำเนินการศึกษา เป็นการศึกษาและรวมรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากกฎหมายและมาตรฐานด้านความปลอดภัย คู่มือการจัดเก็บสินค้าอันตรายจากสำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของเยอรมัน คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กฎระเบียบตามมาตรฐานของสหประชาชาติ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความปลอดภัยของบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี เพื่อนำมาจัดทำคู่มือการจัดการด้านความปลอดภัยสำหรับคลังสินค้าอันตรายแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จากนั้นดำเนินการตรวจสอบคู่มือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ได้คู่มือที่มีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ ผลการศึกษาการจัดทำคู่มือได้แบ่งออกเป็น 5 บท ประกอบด้วย (1) บทนำ วัตถุประสงค์ ข้อมูลทั่วไป (2) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (3) บทบาทความรับผิดชอบของผู้ประกอบการและบุคลากรในคลังสินค้าอันตราย (4) การบริหารจัดการเกี่ยวกับการเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย และ (5) การป้องกันอัคคีภัยและการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12495
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_151787.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons