กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12499
ชื่อเรื่อง: | การให้ข้อมูลในผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัด : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Information giving for pre-operative patients : a systematic review |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล ดนัยสร รัตนวรรณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--การศึกษาเฉพาะกรณี การดูแลก่อนศัลยกรรม กระดูก--ศัลยกรรม ข้อเข่า--ศัลยกรรม การศึกษาอิสระ--การบริหารการพยาบาล |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการให้ข้อมูลในผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัดศึกษาโดยสืบค้นงานวิจัยระหว่างปี ค.ศ. 2008-2012 จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการสืบค้นด้วยมือ พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการให้ข้อมูลในผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัด ตามเกณฑ์ที่กำหนด 10 เรื่อง เป็นงานวิจัยจำนวน 4 เรื่อง วิทยานิพน 2 เรื่องและการศึกษานคว้าอิสระ 4 เรื่อง สามารถแบ่งระดับเกณฑ์การประเมินคุณภาพรายงานวิจัยของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้เป็นหลักฐาน ระดับ A จำนวน 1 เรื่อง ระดับ B จำนวน 8 เรื่องและระดับ C จำนวน 1 เรื่อง ผลการศึกษา พบว่า มีการให้ข้อมูลในผู้ป่วยรับการผ่าตัด 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผ่าตัดโรคทางศัลยกรรมทั่วไป 2) ผ่าตัดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง 3) ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกและข้อเข่าเทียม 4) ผ่าตัดมะเร็งหลอดอาหาร ) ผ่าตัดไขสันหลัง ๑) ผ่าตัดหัวใจแบบเปิด เนื้อหาข้อมูลสำหรับผู้ป่วยทุกกลุ่ม ได้แก่ วิธีการหรือการรักษาก่อนและ หลังผ่าตัดได้แก่ การปฏิบัติตัวขณะเข้ารับการรักษา การบรรเทาอาการปวด การเคลื่อนไหวร่างกายหลังผ่าตัด รูปแบบการให้ข้อมูล พบว่า ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ทีมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่คือพยาบาลวิชาชีพวิธีการให้ข้อมูลมักดำเนินการเป็นรายบุคคล โดยการบรรยาย ร่วมกับการใช้ สื่อ คู่มือ ต่าง ๆ พอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยผ่าตัดแต่ละกลุ่มได้รับข้อมูลเฉพาะตามชนิดของการผ่าตัด ดังนี้ 1) ผู้ป่วยผ่ตัดโรกทางชัลยกรรมทั่วไป มีการให้ข้อมูลวิธีการเผชิญความเครียดโดยการใช้เทคนิคผ่อนคลาย 2) ผู้ป่วยผ่าตัดแผลที่เท้าใบผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง ไห้รับข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนที่เท้า 3) ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะไพกและข้อเข่าเทียมได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสรีรวิทยาของข้อสะโพกและข้อเข่าการทำหน้าที่ของข้อสะโพกและข้อเข่าในสภาวะปกติ ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัด และการเปลี่ยนข้อสะ โพกและข้อเข่าใหม่ และการทำกายภาพบำบัดหลังผ่าตัด การฟื้นฟูขณะอยู่ที่บ้านและการออกกำลังกายที่เหมาะสม 4) ผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งหลอดอาหารได้รับข้อมูลการดูแลที่จะได้รับขณะรักษาตัวในไอซียู 5) ผู้ป่วยผ่าตัดไขสันหลัง ไห้รับข้อมูลเกี่ยวกับสรีรวิทยาพื้นฐานของไขสันหลัง การบริหารปอดไดยฝึกการใช้เครื่อง Incentive spirometry การใช้เครื่อง Sequential Compression Device (SCD) การใช้ชุดช่วยพยุงหลัง และ 6) ผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ได้รับข้อมูลระยะเวลาการรักษาตัวใน ไอซียูหลังผ่าตัด การย้ายกลับหอผู้ป่วย การฟื้นฟูร่างกายภายหลังกลับบ้น การขอความช่วยเหลือและ ขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้ที่ภายหลังกลับบ้าน โดยการติดต่อทางโทรศัพท์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12499 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_142800.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.82 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License