Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12502
Title: ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย
Other Titles: Organization commitment of professional nurses in Thailand
Authors: นิตยา เพ็ญศิรินภา
เสริมทรง จันทร์เพ็ญ, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
พยาบาล--ความพอใจในการทำงาน
ความผูกพันต่อองค์การ--ไทย
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
พยาบาลวิชาชีพ--ไทย
Issue Date: 2547
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ และ (2) ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การโดยใช้วิธีสังเคราะห์งานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การซึ่งพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2536 – 2543 จำนวน 10 เล่ม นำมาสังเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ (1) ระดับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทยทั้งในภาพรวมและในรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 50 โดยเฉลี่ยตามจำนวนงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ รองลงมาอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 40 กลุ่มที่มีระดับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การสูงเป็นกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ ที่ทำงานมีขอบเขตงานชี้เฉพาะ หรือมีความมั่นคงในลักษณะงาน ประสบการณ์การทำงานมานานและอายุมาก (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ พบว่า ปัจจัยลักษณะบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับระดับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ อายุระดับตำแหน่ง และระยะเวลาในการปฏิบัติงานของพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ตำแหน่ง และสถานภาพสมรสของพยาบาลวิชาชีพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ แต่สถานภาพสมรสยังไม่สามารถสรุปได้ว่ามีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ ส่วนปัจจัยลักษณะงาน ปัจจัยประสบการณ์การทำงานทุกด้านที่ นำมาศึกษา มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้พยาบาลวิชาชีพมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการทำงาน เพิ่มสวัสดิการที่เป็นประโยชน์ต่อพยาบาลวิชาชีพให้มากขึ้น สนับสนุนการศึกษาอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะ เพิ่มความเท่าเทียมกันของวิชาชีพเทียบกับวิชาชีพข้างเคียงในเรื่องโอกาสความก้าวหน้าในวิชาชีพ ระดับตำแหน่ง เพื่อเป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจให้กับพยาบาลวิชาชีพต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12502
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
85799.docxเอกสารฉบับเต็ม12.59 kBMicrosoft Word XMLView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons