กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12509
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจกับสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมุทรสาคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationship between empowerment and competencies for caring patients with cardiovascular problems of professional nurses at Samutsakhon Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย นันตพร อุดมสุข มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--การศึกษาเฉพาะกรณี พยาบาล--ไทย--สมุทรสาคร สมรรถนะ การศึกษาอิสระ--การบริหารการพยาบาล |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาระดับสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมุทรสาคร (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจกับสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจและหลอดเลือด ของพยาบาลวิชาชีพและ (3) ศึกษาตัวแปรพยากรณ์สมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างเป็นพราบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกอายุรกรรมทั้งแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสมุทรสาครที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมากกว่า 6 เดือน จำนวน 117 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ตอน คือ (1) ข้อมูลส่วนบุคคล (2) การเสริมสร้างพลังอำนาจ (3) สมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามตอนที่ 2 และ 3 เท่ากับ 0.87 และ 0.97 ามลำดับ และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามตอนที่ 2 และ 3 ได้เท่ากับ 0.91 และ 0.97 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดของพยาบาลวิชาชีพอยูในระดับสูง (2) การเสริมสร้างพลังอำนาจมีความสัมพันธ์ทางบวกกบสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 (r =.488, p<.001) และ (3) การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านการได้รับโอกาส และการเสริมสร้าง พลังอ านาจด้านอ านาจที่ไม่เป็ นทางการ สามารถพยากรณ์ความแปรปรวนของสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจและหลอดเลือดของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 34.6 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ.05 (R 2 =.346, p = .346, <.01) |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12509 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_155663.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.03 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License