กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12521
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกในการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ หอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of clinical practice guidelines for ventilator-associated pneumonia prevention at Trauma and Neurological Ward in Chumphon Khet Udomsakdi Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย เบญจวรรณ นครพัฒน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--การศึกษาเฉพาะกรณี เครื่องช่วยหายใจ ปอดอักเสบ--การป้องกันและควบคุม |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนรวมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกในการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจของหอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกในการ ป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ บุคลากรทางการพยาบาลหอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและศัลยกรรมประสาท จำนวน 20 คนที่ปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์-30 มิถุนายน 2555 และผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและศัลยกรรมประสาทที่ใช้เครื่องช่วยหายใจระหว่างวันที่ 1 เมษายน-30 มิถุนายน 2555 จำนวน 79 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแนวปฏิบัติทางคลินิกในการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ แบบสังเกตการปฏิบัติแบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรทางการพยาบาล และแบบฟอร์มการเฝ้าระวังการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4 ระยะ ได้แก่ ระยะเตรียมการระยะดำเนินการพัฒนา ระยะทดลองใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกและระยะประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบ สัดส่วน ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติทางคลินิกในการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วย หายใจที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 7 กิจกรรม ได้แก่ ทำความสะอาดมือ ดูแลความสะอาดช่องปากและฟัน จัดท่านอนและพลิกตะแคงตัว ให้อาหารทางสายให้อาหาร ดูดเสมหะ หย่าเครื่องช่วยหายใจและการดูแลท่อช่วยหายใจและส่วนประกอบของเครื่องช่วยหายใจ บุคลากรทางการพยาบาลมีการปฏิบัติในการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจถูกต้องเพิ่มขึ้นอย้างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นการหย่าเครื่องช่วย หายใจที่ไม่แตกตางกันโดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 64.07 เป็นร้อยละ 90.35 อุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยลดลงจาก 10.77 เป็น 0.00 ครั้งต่อ 1,000 วัน ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ บุคลากรทางการพยาบาลพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติทางคลินิกที่พัฒนาขึ้นในระดับสูง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12521 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_130678.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 21.81 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License