กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1252
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบจำลองเครือข่ายทางสังคมเพื่อเพิ่มผลผลิตงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยวิจัยไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a social network model to enhance research productivity of faculty members in Thai Research Universities
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: น้ำทิพย์ วิภาวิน
รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล, 2504-
อมเรศ ภูมิรัตน
นงเยาว์ เปรมกมลเนตร
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ผลงานวิจัย--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการผลิตผลงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยวิจัยไทย (2) ศึกษาเครือข่ายทางสังคมที่เอื้อต่อการผลิตผลงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยวิจัยไทย และ (3) พัฒนาแบบจำลองเครือข่ายทางสังคมที่เหมาะสมต่อการเพิ่มผลผลิตงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยวิจัยไทยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 82 ราย คัดเลือกแบบเจาะจงจากประชากรอาจารย์ในมหาวิทยาลัยวิจัยไทย จำนวน 9 แห่ง ที่มีผลผลิตงานวิจัยสูงสุดในสาขาวิชาต่างๆ จำนวน 26 สาขาวิชา จากฐานข้อมูลสากล Scopus เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจผลงานวิจัย แบบสำรวจเครือข่ายผู้แต่งร่วม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลผลงานวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการทางบรรณมิติการวิเคราะห์ข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัยผลการวิจัยพบว่า (1) ผลผลิตงานวิจัยขอประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2464-2555 มีจำนวน 99,190 เรื่อง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผลผลิตงานวิจัยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.6 มาจากอาจารย์มหาวิทยาลัยวิจัยไทยทั้ง 9 แห่ง (2) เครือข่ายทางสังคมของอาจารย์มหาวิทยาลัยวิจัยไทยที่มีผลผลิตงานวิจัยสูง ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 ปัจจัย (3) แบบจำลองเครือข่ายทางสังคมที่เหมาะสมต่อการเพิ่มผลผลิตงานวิจัย ประกอบด้วยผู้แต่งร่วม จำนวน 14 ประเภท ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเครื่อข่ายทางสังคม ในแง่ของความร่วมมือด้านการวิจัยและความเป็นผู้แต่งร่วมจำนวน 7 ปัจจัยและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ส่งผลต่อการผลิตผลงานวิจัยโดยตรง จำนวน 4 ปัจจัยผู้แต่งร่วมที่สำคัญที่สุด ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัยไทย นักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่าซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์ และอาจารย์มหาวิทยาลัยต่างประเทศ ปัจจัยที่สำคัญที่สุด ได้แก่ ความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างบุคคล และลักษณะเฉพาะบุคคล หรือบุคลิกภาพของอาจารย์มหาวิทยาลัยวิจัยไทย
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1252
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (19).pdfเอกสารฉบับเต็ม25.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons