กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12533
ชื่อเรื่อง: คู่มือการจัดการที่ดีทางห้องปฏิบัติการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูปตามข้อกำหนดขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Manual on good laboralory practice in the converted herbal product manufacture according to organisation for economic co-operation and development
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศริศักดิ์ สุนทรไชย
สุกานดา เกื้อกิจกูล, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สมุนไพร--แง่เศรษฐกิจ
สมุนไพร--ไทย
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การที่ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร สามารถสร้างความเชื่อมั่นทางด้านคุณภาพ และความปลอดภัยได้จำเป็นต้องมีกระบวนการตรวจสอบที่ดีในห้องปฏิบัติการ ความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของผลการตรวจวิเคราะห์ที่จะเป็นตัวรับรองความปลอดภัยของสินค้าให้สามารถส่งออกไปสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศได้ สำหรับอุตสาหกรรมสมุนไพรแปรรูปที่เป็นเครื่องสำอาง อาหารเสริม ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สามารถใช้มาตรฐานการจัดการที่ดีทางห้องปฏิบัติการขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาซึ่งสามารถให้ข้อมูลที่มีความถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร สุขภาพ ตลอดจนถึงเรื่องการค้าวัตถุประสงค์ของ การศึกษาในครั้งนี้เพื่อจัดทำ คู่มือการจัดการที่ดีในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูปตามข้อกำหนดขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาวิธีการศึกษาทำโดยการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานที่นำมาใช้ในห้องปฏิบัติการข้อกำหนดตามมาตรฐานการจัดการที่ดีทางห้องปฏิบัติการขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการพัฒนา ข้อควรปฏิบัติภายในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำไปกำหนดเป็นแนวปฏิบัติในการนำไปประยุกต์ในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูปเนื้อหาคู่มือฉบับนี้ ครอบคลุมตั้งแต่การเตรียมความพร้อมเพื่อวางระบบ การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องปฏิบัติการ บุคลากร วิธีทดสอบ การจัดการของเสีย และการรายงานผลสุดท้าย เนื้อหาในคู่มือเล่มนี้เป็นการศึกษาข้อกำหนดและแนวปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ ผู้อ่านควรพิจารณาใช้ข้อมูลต่าง ๆ อย่างเหมาะสมเพื่อปรับใช้ตามสภาพการดำเนินงานของแต่ละองค์กรซึ่งมีวิธีการบริหารจัดการที่แตกต่างกันการนำระบบมาตรฐานเข้ามาใช้ในห้องปฏิบัติการในช่วงเริ่มต้นอาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เสียเวลา แต่หากมองไปที่ระยะยาวจะเห็นได้ว่า เป็นสิ่งที่คุ้มค่ามากกว่าสิ่งที่สูญเสียไป เนื่องจากทำให้เกิดความเชื่อถือในเรื่องของการจัดการรวมถึงผลการวิเคราะห์จากลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ผู้บริหารห้องปฏิบัติการต้องใช้ความพยายามในการรับผิดชอบและทุ่มเทเวลาในการพัฒนาระบบคุณภาพให้สอดคล้องกับขอบเขตกิจกรรม และความจำเป็นของตนเพื่อให้การรับรองมาตรฐานเกิดประสิทธิผลในเชิงปฏิบัติมากที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12533
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_122364.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons