Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12548
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorช่อทิพย์ บรมธนรัตน์th_TH
dc.contributor.authorสุภาวดี ศักดิ์บูรณาเพชร, 2518-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-07-15T06:49:50Z-
dc.date.available2024-07-15T06:49:50Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12548en_US
dc.description.abstractในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน พ่อแม่ต้องออกไปประกอบอาชีพนอกบ้าน เด็กอายุ 0 – 6 ปี จึงถูกส่งไปสถานรับเลี้ยงดูเด็กจำนวนมาก โดยเฉพาะศูนย์เด็กเล็กปัญหาการระบาดของโรคติดต่อที่พบบ่อยในศูนย์เด็กเล็ก เช่น โรคไข้หวัด โรคมือ ปาก เท้าเปื่อย โรคตาแดง เนื่องจากการอยู่ร่วมกัน ใช้ของร่วมกัน จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงต่อ การเกิดโรค และนำสู่การแก้ไขปัญหา ครูผู้ดูแลเด็กเป็นผู้ที่มีบทบาทมากที่สุด เพราะเป็นผู้ที่เฝ้าระวังการแพร่ระบาดในวงกว้างได้ ในปัจจุบันมีการสร้างคู่มือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์เด็กเล็กหลายเรื่อง แต่ยังไม่มีคู่มือเล่มใดที่สามารถนำมาปฏิบัติงานในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กได้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก 2) เพื่อจัดทำคู่มือการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ก่อนและหลังการใช้คู่มือการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อศูนย์เด็กเล็ก 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้คู่มือการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก วิธีการศึกษาทำโดยการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานและการประเมินศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่บทบาทหน้าที่ของครูผู้ดูแลเด็ก ความหมายและวิธีการระบาดของโรคติดต่อ วิเคราะห์สถานการณ์การเจ็บป่วย สาเหตุอาการแสดงความรุนแรงของโรคติดต่อที่พบบ่อยกำหนดเนื้อหาในคู่มือเป็นมาตรฐานการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กตามหลักการทางวิทยาการระบาด และหลักเกณฑ์การควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อ และอันตรายในสถานรับเลี้ยงดูแลเด็กเนื้อหาในคู่มือประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ ปัญหาและปัจจัยเสี่ยงทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมตั้งแต่การเฝ้าระวังและประเมินสถานะสุขภาพ 2) แบ่งเนื้อหาของคู่มือออกเป็น 2 ส่วน ความรู้พื้นฐานการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค และมาตรการการดำเนินด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค 3) ผลการเปรียบเทียบการประเมินความรู้ การปฏิบัติงาน ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็กเทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรี พบว่า มีค่าเฉลี่ยความรู้หลังการใช้คู่มือสูงกว่าก่อนใช้คู่มืออย่างมีนัยสาคัญทำงสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อศูนย์เด็กเล็ก ด้านเนื้อหา ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และรูปแบบการ นำเสนอข้อมูล เออยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.08 4.20 และ 4.04 ตามลำดับ ข้อเสนอแนะควรมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาในคู่มือปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กเกี่ยวกับ ปัญหาโรคติดต่อ และวิธีการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในแต่ละแห่งตามความเหมาะสมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_us
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectโรคติดต่อ--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectเด็กวัยก่อนเข้าเรียนth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์th_TH
dc.titleคู่มือการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กth_TH
dc.title.alternativeManual of communicable disease surveillance, prevention and control in child care centeren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_125851.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.18 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons