กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12548
ชื่อเรื่อง: | คู่มือการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Manual of communicable disease surveillance, prevention and control in child care center |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ สุภาวดี ศักดิ์บูรณาเพชร, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี โรคติดต่อ--การป้องกันและควบคุม เด็กวัยก่อนเข้าเรียน การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน พ่อแม่ต้องออกไปประกอบอาชีพนอกบ้าน เด็กอายุ 0 – 6 ปี จึงถูกส่งไปสถานรับเลี้ยงดูเด็กจำนวนมาก โดยเฉพาะศูนย์เด็กเล็กปัญหาการระบาดของโรคติดต่อที่พบบ่อยในศูนย์เด็กเล็ก เช่น โรคไข้หวัด โรคมือ ปาก เท้าเปื่อย โรคตาแดง เนื่องจากการอยู่ร่วมกัน ใช้ของร่วมกัน จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงต่อ การเกิดโรค และนำสู่การแก้ไขปัญหา ครูผู้ดูแลเด็กเป็นผู้ที่มีบทบาทมากที่สุด เพราะเป็นผู้ที่เฝ้าระวังการแพร่ระบาดในวงกว้างได้ ในปัจจุบันมีการสร้างคู่มือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์เด็กเล็กหลายเรื่อง แต่ยังไม่มีคู่มือเล่มใดที่สามารถนำมาปฏิบัติงานในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กได้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก 2) เพื่อจัดทำคู่มือการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ก่อนและหลังการใช้คู่มือการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อศูนย์เด็กเล็ก 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้คู่มือการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก วิธีการศึกษาทำโดยการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานและการประเมินศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่บทบาทหน้าที่ของครูผู้ดูแลเด็ก ความหมายและวิธีการระบาดของโรคติดต่อ วิเคราะห์สถานการณ์การเจ็บป่วย สาเหตุอาการแสดงความรุนแรงของโรคติดต่อที่พบบ่อยกำหนดเนื้อหาในคู่มือเป็นมาตรฐานการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กตามหลักการทางวิทยาการระบาด และหลักเกณฑ์การควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อ และอันตรายในสถานรับเลี้ยงดูแลเด็กเนื้อหาในคู่มือประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ ปัญหาและปัจจัยเสี่ยงทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมตั้งแต่การเฝ้าระวังและประเมินสถานะสุขภาพ 2) แบ่งเนื้อหาของคู่มือออกเป็น 2 ส่วน ความรู้พื้นฐานการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค และมาตรการการดำเนินด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค 3) ผลการเปรียบเทียบการประเมินความรู้ การปฏิบัติงาน ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็กเทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรี พบว่า มีค่าเฉลี่ยความรู้หลังการใช้คู่มือสูงกว่าก่อนใช้คู่มืออย่างมีนัยสาคัญทำงสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อศูนย์เด็กเล็ก ด้านเนื้อหา ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และรูปแบบการนำเสนอข้อมูล เออยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.08 4.20 และ 4.04 ตามลำดับ ข้อเสนอแนะควรมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาในคู่มือปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กเกี่ยวกับ ปัญหาโรคติดต่อ และวิธีการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในแต่ละแห่งตามความเหมาะสม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12548 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_125851.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.18 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License