กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12551
ชื่อเรื่อง: ลักษณะน้ำเสียจากห้องปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทเอส ที เอส กรีน จำกัด และแนวทางการจัดการเบื้องต้น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Wastewater characteristics from environmental laboratory of STS Green Company Limited and its initial management guideline
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปีติ พูนไชยศรี
สุรชัย วุฒิวงศ์, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทเอส ที เอส กรีน จำกัด
ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะน้ำเสียจากห้องปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท เอส ที เอส กรีน จำกัด (2) นำเสนอแนวทางการจัดการน้ำเสียจากห้องปฏิบัติการเบื้องต้นวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจระยะสั้นทำการเก็บตัวอย่างน้ำเสียในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน พ.ศ. 2552 น้ำเสียที่ศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) น้ำเสียสารละลายเคมีที่เกิดจากกระบวนการวิเคราะห์สารแขวนลอยทั้งหมด ในเตรท-ไนโตรเจน ในไตรท์-ในโตรเจน อสเฟต-ฟอสฟอรัส และ แอมโมเนีย-ในโตรเจน ในตัวอย่างน้ำทะเล (2) น้ำเสียสารละลายเคมีที่เกิดจากการวิเคราะห์บีโอดี ในตัวอย่างน้ำเสียชุมชนในแต่ละกลุ่มได้ทำการเก็บตัวอย่างเป็นตัวแทนของแต่ละวันจนกระทั่งครบ 5 วันทำการ จากนั้นนำมาผสมรวมกันและเก็บตัวอย่างเป็นตัวแทนเพื่อศึกษาลักบณะน้ำเสียโดยนำไปวิเคราะห์ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง อุณหภูมิของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด สารแขวนลอยทั้งหมด น้ำมันและไขมัน ซัลไฟด์ คลอไรค์ โลหะหนัก สี และกลิ่นจากนั้นทำการศึกษางานวิจัย หนังสือ บทความ คู่มือ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปลักษณะน้ำเสียและนำเสนอแนวทางการจัดการเบื้องต้น ผลการศึกษาพบว่าน้ำเสียที่ศึกษามีลักษณะสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ (1) มีโลหะหนักบางชนิดปนเปื้อนเกินมาตรฐานกำหนดซึ่งเกิดจากสารเคมีที่ใช้ในการวิเคราะห์มีโลหะหนักเป็นองค์ประกอบ (2) มีสภาพเป็นกรดแก่เนื่องจากมีการใช้กรดเข้มข้นหลายชนิดในการวิเคราะห์ และ (3) มีของแข็งละลายน้ำสูง โดยปรากฎได้ทั้งในน้ำเสียที่เป็นน้ำทะเล และน้ำเสียชุมชน ซึ่งจากการศึกษาการใช้สารเคมีสำหรับ การวิเคราะห์แต่ละดัชนีคุณภาพน้ำตามวิธีมาตรฐานของห้องปฏิบัติการ พบว่าในภาพรวมน้ำเสียจากห้องปฏิบัติการแห่งนี้อาจมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามประการก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเสียที่มีสภาพเป็นกรดแก่เป็นพื้นฐาน สำหรับแนวทางการจัดการน้ำเสียเบื้องต้นมี 4 ขั้นตอนคือ (1) การแยกประเภทน้ำเสียออกเป็นน้ำทะเลและไม่ใช่น้ำทะเล และแบ่งเป็นประเภทย่อยออกเป็นกลุ่มที่มีโลหะหนักและกลุ่มที่ไม่มีโลหะหนัก (2) การรวบรวมและบรรจุ (3) การจัดเก็บในห้องจัดเก็บเฉพาะ และ (4) การบำบัด ซึ่งมี 3 ขั้นตอนหลัก ประกอบด้วย ขั้นตอนแรก น้ำเสียที่มีโลหะหนักจะทำการบำบัดโดยการตกตะกอนทางเคมี จากนั้นแยกตะกอนออกเพื่อรวบรวมส่งไปกำจัดภายนอกส่วนน้ำที่เหลือจะเข้าสู่ขั้นตอนการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง ส่วนขั้นตอนสุดท้ายเป็นการบำบัดเพื่อลดค่าของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดซึ่งมีทางเลือกการบำบัดหลายวิธีก่อนปล่อยสู่ภายนอก ลักษณะน้ำเสียและแนวทางการจัดการที่ได้นำเสนอข้างต้นจะเป็นประโยชน์สำหรับห้องปฏิบัติการของ บริษัทฯ และผู้ที่สนใจทั้งในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมและบริษัทเอกชน โดยสามารถนำไปศึกษาต่อยอดและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับห้องปฏิบัติการของแต่ละแห่งได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12551
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_127196.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons