กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1255
ชื่อเรื่อง: ความต้องการสารสนเทศด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติของผู้ปฏิบัติงานศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในจังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Natural disaster information needs of workers at the Volunteer Civil Defense Center, Krabi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: น้ำทิพย์ วิภาวิน
สุจิตรา นาวารัตน์, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ภัยธรรมชาติ--ไทย--กระบี่
แหล่งสารสนเทศ--แง่สิ่งแวดล้อม
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการสารสนเทศด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติของผู้ปฏิบัติงานศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในจังหวัดกระบี่ (2) เปรียบเทียบความต้องการสารสนเทศด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติของผู้ปฏิบัติงานศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในจังหวัดกระบี่จําแนกตาม ตําแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทํางานในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย และ (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคความต้องการสารสนเทศด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติของผู้ปฏิบัติงานศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในจังหวัดกระบี่วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในจังหวัดกระบี่ จํานวน 366 คน กลุ่มตัวอย่างจํานวน 330 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเดียวและทดสอบรายคู่ตามวิธีการเชฟเฟ่ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้ปฏิบัติงานศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในจังหวัดกระบี่มีความต้องการสารสนเทศด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ เรื่องการแจ้งเตือนภัยพิบัติในภาวะฉุกเฉินในระดับมาก ( x = 4.29) รองลงมาเป็นการเตรียมพร้อมรับมือเรื่องพื้นที่เสี่ยงภัยและพื้นที่ปลอดภัย เส้นทางอพยพ และวิธีการอพยพ ( x = 4.14) และมีการเผยแพร่สารสนเทศผ่านสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์และหอเตือนภัย ( x = 4.00) (2) เปรียบเทียบความต้องการสารสนเทศจําแนกตามตําแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทํางานพบว่ามีความต้องการสารสนเทศไม่แตกต่างกัน (3) ปัญหาและอุปสรรคของความต้องการสารสนเทศด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติในระดับมากคือ เนื้อหาของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมีลักษณะเนื้อหาที่เป็นวิชาการมากเกินไป ( x = 3.56) รองลงมาคือความไม่ถูกต้องของข้อมูลและช่วงเวลาการเผยแพร่ไม่ทันต่อความต้องการ ( x = 3.50)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1255
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (20).pdfเอกสารฉบับเต็ม29.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons