กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12578
ชื่อเรื่อง: การจัดการความปลอดภัยในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลกาฬสินธุ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Safety management of the operative unit in Kalasin Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิมล ทุมมี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์--การจัดการ
ห้องผ่าตัด--มาตรการความปลอดภัย
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดการความปลอดภัยในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และ 2 ปัจจัยที่สนับสนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการความปลอดภัยในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลกาพสินธุ์กลุ่มศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป แบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ 1) กลุ่มตอบแบบสอบถามจำนวน 30 คน และ 2) กลุ่มสนทนาได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มศึกษากลุ่มที่ 1 ซึ่งมีประสบการณ์ปฏิบัติงานห้องผ่าตัด ตั้งแต่10 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ตามแนวคิดขององค์กรด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยระดับชาติ ประเทศอังกฤษ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัยในห้องผ่าตัด ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา และความเที่ยงมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 100 และ 0.95 ตามลำดับ และ 2) แนวทางการสนทนากลุ่มมีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่า 1) การจัดการความปลอดภัยในห้องผ่าตัดโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก 2) ปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการความปลอดภัยในห้องผ่าตัดประกอบด้วย (1) โครงสร้างห้องผ่าตัดที่มีมาตรฐาน 2)งบประมาณเพียงพอ (3) การสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากร และ(4) ทีมผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรดต่อการจัดการความปลอดภัยในห้องผ่าตัด มีดังนี้ (1) บุคลากรขาดความรู้ ประสบการณ์ความตระหนักในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัด (2) อัตรากำลังบุคลากรไม่เพียงพอ (3) นโยบายด้านการให้ข้อมูลและการสื่อสารไม่ชัดเจน และ (4) การขาดความร่วมมือของผู้ป่วยและญาติ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12578
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_150240.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons