กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12581
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกร ตำบลบุ่งมะแลง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension guideline for sustainable agriculture of farmers in Bungmalaeng District Sawang Wirawong District, Ubon Ratchatani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ อารดิน เทพชัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน |
คำสำคัญ: | เกษตรกรรมแบบยั่งยืน--ไทย การส่งเสริมการเกษตร |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและสภาพทางเศรษฐกิจพื้นฐานของเกษตรกร 2) สภาพการทำเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกร 3) ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกร 4) สภาพการได้รับการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการทำเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกร และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการทำเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรเกินกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 52.19 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.45 คน และมีประสบการณ์เฉลี่ย 8.91 ปี รายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 83,370.79 บาท รายจ่ายจากภาคการเกษตรเฉลี่ย 58,078.65 บาท 2) เกษตรกรทำเกษตรธรรมชาติ พื้นที่เป็นพื้นที่ราบ มีสภาพดินทราย เตรียมดินโดยการไถตะ ใช้รถไถเดินตาม ใช้ปุ๋ยคอกในการปรับปรุงบำรุงดิน ใช้น้ำฝน กำจัดวัชพืชโดยใช้เครื่องตัดหญ้าตัด ป้องกันโรคโดยใช้น้ำหมักชีวภาพ ใช้พืชสมุนไพรในการป้องกันศัตรูพืช 3) เกษตรกรส่วนมากมีความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนความรู้เฉลี่ย 17.83 คะแนน 4) เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับการส่งเสริมเนื้อหาความรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมด้านเนื้อหาความรู้มากที่สุด คือ เกษตรอินทรีย์ เกษตรกรได้รับการส่งเสริมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ยูทูป โดยมีความต้องการการส่งเสริมด้านวิธีการการส่งเสริมมากที่สุด คือ ทางโทรทัศน์ เกษตรกรได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สำหรับการผลิตปุ๋ยเอง เช่น สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 โดยมีความต้องการการส่งเสริมด้านการสนับสนุนมากที่สุด คือ วัสดุอุปกรณ์สำหรับการผลิตปุ๋ยเอง เช่น สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 สารเร่งซุปเปอร์ พค.25) เกษตรกรมีปัญหาไม่สามารถลดการใช้ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีทางการผลิตต่าง ๆ เช่น การไถพรวนดิน การใช้ปุ๋ย การใช้สารเคมี เป็นต้น ขาดการฝึกอบรม และการทัศนศึกษาแปลงสาธิต และปัจจัยการผลิตไม่เพียงพอ เช่น พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ วัสดุสำหรับผลิตปุ๋ยหมัก โดยเกษตรกรมีข้อเสนอแนะว่าควรส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันของการทำเกษตรผสมผสาน ควรจัดโครงการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร รองลงมา คือ ควรจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิกในกลุ่มด้วยกัน ควรจัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่เกษตรกร และควรจัดทำโครงการคลองชลประทาน ขุดสระ ขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับการทำเกษตรกรรมยั่งยืนให้แก่เกษตรกร |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12581 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.67 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License