กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12582
ชื่อเรื่อง: | การส่งเสริมการผลิตข้าวของเกษตรกรในจังหวัดปทุมธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension of rice production of farmers in Pathum Thani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จินดา ขลิบทอง สมพงษ์ สุริวงศ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ |
คำสำคัญ: | ข้าว--การผลิต |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปของเกษตร 2) สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตข้าวของเกษตรกร 4) การได้รับและความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวของเกษตรกร และ 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 56.6 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.66 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.98 ราย แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.81 ราย แรงงานจ้างทำนาเฉลี่ย 2.34 รายส่วนใหญ่เกษตรกรเป็นสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชน ประสบการณ์การปลูกข้าว เฉลี่ย 17.49 ปี มีพื้นที่ตนเองปลูกข้าวเฉลี่ย 28.34 ไร่ พื้นที่เช่าเฉลี่ย 29.98 ไร่ เกษตรกรปลูกข้าวด้วยวิธีการดำด้วยเครื่องปักดำโดยมีพื้นที่เฉลี่ย 5.00 ไร่ มีต้นทุนเฉลี่ย 5,173.33 บาท/ไร่ มีรายได้เฉลี่ย 7,278 บาท/ไร่ และวิธีการหว่านโดยมีพื้นที่เฉลี่ย 28.88 ไร่ มีต้นทุนเฉลี่ย 5,832.43 บาทต่อไร่ รายได้เฉลี่ย 8,026 บาทต่อไร่ 2) เกษตรกรผลิตข้าวในด้าน การเตรียมเมล็ดพันธุ์ การเตรียมดินการดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่เกษตรกรมีการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ การเตรียมดิน และการเก็บเกี่ยว 3) ปัญหาในการผลิตข้าวของเกษตรกรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแหล่งเงินทุนเป็นปัญหามากที่สุดในการผลิตข้าวของเกษตรกร และมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานราชการเข้ามาให้ความรู้แก่สมาชิกภายในกลุ่ม สนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ และเครื่องจักรกล เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต 4) เกษตรกรได้รับความรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการความรู้ในการผลิตข้าวอยู่ในระดับมากเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการได้รับกับความต้องการการส่งเสริม พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการการส่งเสริม(Z) คือ รายจ่ายจากการทำนา (X) โดยสมการสามารถทำนายความสำเร็จได้ร้อยละ 18.8 ได้สมการถดถอยพหุคูณ Z =- 0.132(X) 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าว คือ นักส่งเสริมหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องการเตรียมดิน การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว และการดูแลรักษาการจัดการในนาข้าว โดยวิธีการฝึกปฏิบัติร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิตข้าวเพิ่มขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12582 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.7 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License