กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12585
ชื่อเรื่อง: | คู่มือการจัดการด้านความปลอดภัยในการป้องกันและระงับอัคคีภัยสำหรับโรงอบใบยาเด่นชัย โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Manual for safety management in fire prevention and suppression of Denchai Redrying Plant, Thailand Tobacco Monopoly, ministry of Finance |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สราวุธ สุธรรมมาสา สุจิตรา ถือแก้ว, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี โรงอบใบยาเด่นชัย--มาตรการความปลอดภัย |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | อุตสาหกรรมอบใบยาสูบเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดไฟไหม้ เนื่องด้วยปริมาณวัตถุดิบคือใบยาสูบแห้งและใบยาสูบที่ผ่านกระบวนการอบแล้วมีสภาพที่แห้ง เป็นเชื้อเพลิงที่ทำให้ติดไฟได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้หากละเลยไม่ดำเนินการป้องกันอัคคีภัยในโรงงานแบบเชิงรุกอาจก่อให้เกิดความเสียหายถึงขั้นสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำแนวทำงการจัดการด้านการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงอบใบยาเด่นชัย โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง การจัดทำคู่มือการจัดการป้องกันและระงับอัคคีภัยนี้ ได้ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการเกิดอัคคีภัย ข้อมูลด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย ข้อกำหนดของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 และสำรวจข้อมูลของโรงงานรวมถึงการจัดการป้องกัน และระงับอัคคีภัยที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และประเมินความไม่สอดคล้องตามกฎหมาย สรุป ข้อเสนอแนะที่จะต้องดำเนินการนำไปปรับปรุงคู่มือการป้องกัน และระงับอัคคีภัยของโรงอบใบยาเด่นชัย ผลการศึกษาพบว่า โรงอบใบยาเด่นชัยจะต้องดำเนินงานให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด คือ ข้อกำหนดเส้นทางหนีไฟ การมอบหมายผู้รับผิดชอบตรวจสอบทดสอบบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบดับเพลิง ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ การฝึกอบรม การดับเพลิงขั้นต้น การตรวจความปลอดภัยด้านอัคคีภัย และมาตรการการป้องกันอัคคีภัย ทั้งนี้ ได้นำข้อเสนอแนะดังกล่าว มาปรับปรุงในคู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัย ประกอบด้วยขั้นตอนก่อนเกิดอัคคีภัย ขณะเกิดอัคคีภัย และหลังเกิดอัคคีภัยเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและระงับอัคคีภัยให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12585 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_146122.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 28.12 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License