กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12599
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกร ผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ตำบลห้วยลึก อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to the adoption of fertilizers based on soil analysis of oil palm farmers in Huai Luek Sub-district, Khuan Niang District, Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน
ณิชาภา บางพงษ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
คำสำคัญ: ปุ๋ย--การใช้ประโยช
ดิน--การวิเคราะห์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพทางสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร 3) ความรู้ แหล่งความรู้ ความคิดเห็น และแรงจูงใจในการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกร 4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกร และ 5) ปัญหา ข้อเสนอแนะและความต้องการในการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 55.3 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.42 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4.09 คนประสบการณ์ในการทำสวนปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 7.07 ปี จำนวนพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 10.82ไร่ รายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 87,947.37บาท/ปี จำนวนแรงงานในครัวเรือนทั้งหมดเฉลี่ย 2912)เกษตรกรร้อยละ 94.7 ปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์เทเนอรา สภาพพื้นที่ทำการเกษตรร้อยละ 73.2 เป็นที่ลุ่ม ร้อยละ 83.2 มีระยะการปลูกปาล์มน้ำมันที่ 9x9x9 เมตรระยะเวลาการเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 31.62 วัน/รอบ3)เกษตรกรที่ยอมรับ และไม่ยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีความรู้อยู่ในระดับมาก และปานกลางตามลำดับ ความรู้ที่ได้รับจากแหล่งต่างๆ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะได้รับความรู้จากสื่อบุคคลมากกว่าสื่ออื่นๆ ความคิดเห็นต่อการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรที่ยอมรับ และไม่ยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และปานกลางตามลำดับความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรที่ยอมรับ และไม่ยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และปานกลาง ตามลำดับ แรงจูงใจต่อการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรที่ยอมรับ และไม่ยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก และปานกลาง ตามลำดับ 4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินพบว่า อายุ ประสบการณ์ในการทำสวนปาล์มน้ำมัน จำนวนผลผลิตของปาล์มน้ำมันความรู้ แหล่งความรู้ ความคิดเห็นต่อการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และแรงจูงใจของเกษตรกรที่ยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.015) ปัญหาของเกษตรกรที่ยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะด้านวัสดุอุปกรณ์ และเกษตรกรที่ไม่ยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์คินภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะด้านการนำไปใช้ ข้อเสนอแนะ ของเกษตรกรที่ยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์คินภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะด้านการผลิต และเกษตรกรที่ไม่ยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์คินภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะด้านวัสดุอุปกรณ์ และความต้องการในการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกรที่ยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะด้านวิธีการส่งเสริมและความต้องการในการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกรที่ไม่ยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะด้านการสนับสนุน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12599
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons