กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12600
ชื่อเรื่อง: การจัดการความรู้ภูมิปัญญาการทอผ้าของกลุ่มผู้ทอผ้าไหม ในจังหวัดแพร่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Knowledge management of the weaving wisdoms of silk weaver group in Phrae
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
สุพัตรา นันตาเวียง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน
คำสำคัญ: การบริหารองค์ความรู้
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
การทอผ้า--การรวมกลุ่ม
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพส่วนบุคคล สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกกลุ่มผู้ทอผ้าไหม 2) ภูมิปัญญาการทอผ้าของกลุ่มผู้ทอผ้าไหม 3) การจัดการความรู้ภูมิปัญญาการทอผ้าของกลุ่มผู้ทอผ้าไหม 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการความรู้ภูมิปัญญาการทอผ้าของกลุ่มผู้ทอผ้าไหม ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกกลุ่มผู้ทอผ้าไหมร้อยละ 94.0 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 56.87 ปี จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีประสบการณ์ทอผ้าเฉลี่ย 20.40 ปี มีรายได้จากการทอผ้าเฉลี่ย 23,666 บาทต่อปี 2) สมาชิกกลุ่มมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าจากครอบครัว/เครือญาติเป็นหลัก โดยใช้วิธีการฝึกปฏิบัติจริง วัตถุดิบที่ใช้ในการทอผ้าซื้อจากร้านค้า/ผู้ประกอบการทั้งหมด กระบวนการทอผ้ามีกระบวนการหลัก 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การใช้วัตถุดิบในการทอผ้า (2) การย้อมสีเส้นด้าย (3) การทอผ้า 3) การจัดการความรู้ภูมิปัญญาการทอผ้าของกลุ่มผู้ทอผ้าไหม ได้แก่ (1) การบ่งชี้ความรู้ สมาชิกกลุ่มร่วมกันระบุองค์ความรู้ของกลุ่มคือการทอผ้าชื่นคืนจก (2) การแสวงหาความรู้ จากการปฏิบัติและสั่งสมประสบการณ์ด้วยตนเอง และจากการบอกเล่าของบรรพบุรุษ (3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ โดยจัดเก็บความรู้ไว้ในความทรงจำ (4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ มีการประมวลความรู้ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและสะดวกต่อการนำไปใช้ (5) การเข้าถึงความรู้ จากบอร์ดประชาสัมพันธ์ (6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ โดยการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงานที่กลุ่มด้วยวิธีการสาธิต (7) การเรียนรู้ มีการนำความรู้มาใช้ในการแก้ไขปัญหาการทอผ้าของกลุ่ม 4) ปัญหาในการจัดการความรู้ สมาชิกกลุ่มผู้ทอผ้าไหมมีปัญหาในระดับมากในประเด็นการแสวงหาความรู้ของกลุ่มผู้ทอผ้าไหมและมีข้อเสนอแนะการจัดการความรู้ภูมิปัญญาการทอผ้าไหม โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะมากที่สุด ในประเด็นการประมวลความรู้โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและสะดวกต่อการนำไปใช้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12600
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons