กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12604
ชื่อเรื่อง: | ผลการจัดรูปแบบบริการโดยสามีมีส่วนร่วมต่อความรับผิดชอบต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of husband participation service model on health responsibility of pregnant women |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ดวงกมล ปิ่นเฉลียว ศิริพร บ้านคุ้ม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --การศึกษาเฉพาะกรณี สามีและภรรยา ครอบครัว--สุขภาพและอนามัย การศึกษาอิสระ--การบริหารการพยาบาล |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดรูปแบบบริการ โดยสามีมีส่วนร่วมต่อความรับผิดชอบต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปาง ระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 จำนวน 34 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 17 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการบริการฝากครรภ์ตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับบริการฝากครรภ์ตามปกติร่วมกับให้สามีมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบบริการโดยสามีมีส่วนร่วม และแบบสอบถามความรับผิดชอบต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่พัฒนาโดยสมใจ พุทธาพิทักษ์ผล (2541) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ ข้อมูล โดยใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแมนวิทนีย์ ยู ผลการวิจัยพบว่า ความรับผิดชอบต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12604 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_142799.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.82 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License