กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12615
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the learning organization of Department of Skill Development
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ
กรรธิมา ถานทองดี, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
การเรียนรู้
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (2) ศึกษาระดับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (3) เปรียบเทียบระดับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล (4) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยภายในองค์กรต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (5) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวน 347 คน จากจำนวนประชากร 2,619 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การทดสอบความแปรปรวน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ประกอบด้วย 6 ปัจจัย เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ วัฒนธรรมองค์กร, ภาวะผู้นำ, กลยุทธ์ขององค์กร, เทคโนโลยี, โครงสร้างองค์กร และการจัดการความรู้ (2) ระดับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) เปรียบเทียบระดับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล พบว่าบุคลากรที่มีเพศ อายุ และอายุงานที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบุคลากรที่มีระดับการศึกษา และสถานภาพทางราชการที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน (4) ปัจจัยภายในองค์กร ด้านกลยุทธ์ขององค์กร, ด้านโครงสร้างขององค์กร, ด้านภาวะผู้นำ, ด้านการจัดการความรู้, ด้านเทคโนโลยี, ด้านวัฒนธรรม โดยรวมมีความสัมพันธ์กับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์กันระดับสูง และมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ซึ่งหมายถึง หากปัจจัยภายในองค์กรอยู่ในระดับมาก ก็จะทำให้การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมากด้วยเช่นกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12615
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_132366.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons